วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562

กรณีเหตุสุนัขเห่าหอน ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการ สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA)



กรณีเหตุสุนัขเห่าหอน
ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล
เลขาธิการและผู้อำนวยการ สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA)

กรณีสุนัขเห่าหอน เป็นเรื่องปกติพฤติการณ์ตามธรรมชาติของสุนัขทุกตัว แต่ถ้ากรณีที่มีการเลี้ยงสุนัขเป็นจำนวนมาก ในบริเวณพื้นที่อันจำกัด ซึ่งอาจส่งเสียง จนกระทบถึงสุขภาพอนามัยของผู้พักอาศัยในบริเวณข้างเคียง โดยเฉพาะในช่วงยามวิกาลที่กำลังพักผ่อนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญขึ้นได้ ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560) มาตรา 25  ได้กำหนด ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบเหตุ ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ (2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือวิธีใด หรือจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
โดยมาตรา 28 ได้ระบุไว้ว่า ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น  ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้ ซึ่งถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเข้ามาดำเนินการระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญนั้น โดยมาตรา 74 ระบุไว้ว่า ถ้าผู้ไม่ปฏิบัติตามพนักงานท้องถิ่น โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น ถ้ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือเสียหายจากเหตุเดือดร้อนรำคาญดังกล่าว มีการร้องเรียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนเป็นเหตุมีการดำเนินการระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญและถ้ามีการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบเหตุเดือดร้อนรำคาญนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้เจ้าของสุนัข ดำเนินการระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญ แต่ถ้าเจ้าของสุนัขไม่ดำเนินการหรือขัดขวางการดำเนินการของพนักงาน ก็อาจจะมีโทษตามกฎหมายได้  ดังนั้น โทษตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข จึงไม่ใช่โทษของการที่สุนัขเห่าหอน แล้วมีการปรับหรือจำคุก เจ้าของสุนัขแต่อย่างใด แต่เป็นโทษสำหรับเจ้าของสุนัข ที่ไม่ดำเนินการตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญ ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้น  ฉะนั้นการเลี้ยงสุนัข แม้เป็น “สิทธิ” ที่กฎหมายรับรองคุ้มครองให้ แต่เจ้าของก็ยังมี หน้าที่และความรับผิดชอบในการเลี้ยงดู ที่จะต้องไม่กระทบหรือละเมิดสิทธิ สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้อื่น เช่นกัน



โพสต์ข่าวแนะนำ

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี พร้อมด้วย ประธานกต.ตร.จว.นนทบุรี (ภาคประชาชน)ร่วมพิธีฟังสวดพระอภิธรรมศพ ณ วัดบางประทุนนอก

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ ผบก.ภ.จว.นนทบุรี พร้อมด้วย ประธานกต.ตร.จว.นนทบุรี (ภาคประชาชน)ร่วมพิธีฟังสวดพระอภิธรรมศพ ณ วัดบางประทุนนอก วั...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ

ข่าวดังรายสัปดาห์ HOT NEWS