วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563

พล.ต.ต.สมประสงค์ เย็นท้วม รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (น.8) “รองเปีย” ลูกชาวสวนย่านฝั่งธนบุรี ในวัยเด็กฝันอยากเป็น "นักตะกร้อลอดห่วง” ส่งเสริมและอนุรักษ์ไทย แต่ชีวิตพลิกผันเพราะแม่อยากให้เป็นตำรวจ จึงก้าวเข้าสู่ “ยุทธจักรสีกากี”



"ตะกร้อลอดห่วงสุดยอดกีฬาไทย"






"ตะกร้อ" เป็นการละเล่นของไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยมีบันทึกอยู่ในหนังสือของชาวต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ว่า คนไทยเล่นตะกร้อมาตังแต่สมัยอยุธยาเลยทีเดียว

ต่อมามีคนไทยเชื้อสายจีน คือ นายยิ้ม สีหน หัวหน้าทีมวัดสิบเป็นผู้จัดตั้งกีฬาไทยที่เรียกว่า “ตะกร้อลอดห่วง” และเป็นผู้บุกเบิกคิดค้นกติกาวิธีการเล่นจนเป็นตะกร้อลอดห่วงสืบจนถึงปัจจุบัน

"ตะกร้อลอดห่วง" กีฬาแห่งน้ำใจและไมตรี ไม่มีแบ่งเพศแบ่งวัยและฝีมือ เล่นที่ไหน เมื่อไหร่ กับใครก็ได้ ขอให้มีลูกตะกร้อกลมๆ เพียงลูกเดียว “ตะกร้อลอดห่วง” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตะกร้อลอดบ่วงหรือตะกร้อห่วงชัย”

พล.ต.ต.สมประสงค์ เย็นท้วม รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (น.8) “รองเปีย” อดีต ผบก.น.5 - ผบก.ภ.จว.ชลบุรี - รอง ผบช.ภ. 7 และ รอง ผบช.ภ.2 หวนกลับนครบาลรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงและงานสำคัญอีกหลายอย่าง นอกจากนี้ที่สำคัญยังเป็น ผู้จัดการทีมคุมทีมตะกร้อลอดห่วง บช.น. อีกด้วย

จากลูกชาวสวนย่านฝั่งธนบุรี ในวัยเด็กฝันอยากเป็น "นักตะกร้อลอดห่วง” ส่งเสริมและอนุรักษ์ไทย  แต่ชีวิตพลิกผันเพราะแม่อยากให้เป็นตำรวจ จึงก้าวเข้าสู่ “ยุทธจักรสีกากี”

“อันที่จริงคุณแม่ผมท่านไม่ชอบตำรวจ เพราะเคยโดนรังแก จึงอยากให้ผมเป็นตำรวจ จะได้มาคอยกำกับดูแลตำรวจ”

หลังจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 42 "รองเปีย" ก็เริ่มต้นเส้นทางอาชีพที่ตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวนสอบสวน สภ.อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กระทั่งปี 2538  “พล.ต.อ.สมชาย มิลินทางกูร” อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ได้เรียกให้มาเป็น “นายเวร” ซึ่งทำให้มีโอกาสร่วมสร้างผลงานครั้งสำคัญ นั่นคือการทลายเครือข่าย “ราชายาเสพติด เหว่ย เซี๊ยะ กัง"

เหตุผลที่สนใจตะกร้อลอดห่วง เพราะว่าสมัยก่อนช่วงเรียนชั้นมัธยมคุณพ่อท่านชอบดูตะกร้อลอดห่วงมากและได้พาผมไปเที่ยวงานวัดบ้าง ท้องสนามหลวงบ้าง และได้ไปพบเห็นการแข่งขันตะกร้อลอดห่วง ด้วยความที่เราเป็นคนที่ชอบของอะไรที่เป็นไทยๆก็เลยมีความสนใจอยากจะเล่นเป็นก็เลยลองไปเล่นดูรู้สึกว่ามันยากมันท้าทายดีและด้วยความที่อยากจะเอาชนะก็เลยมีความอุตสาหะที่จะฝึกเล่นให้ได้ จากนั้นมาตัวเองก็เที่ยวเสาะหาผู้ที่มีความรู้เพื่อที่จะได้ฝึกฝนอย่างจริงจังอีกทั้งการเล่นตะกร้อลอดห่วงจะเป็นการแสดงออกทางกีฬาที่น่าเล่นมาก จะมีคนพากย์ทำให้เกิดความสนุกสนานทั้งผู้เล่นและคนเชียร์มีการตบมือเฮฮาเร้าใจ ยิ่งสมัยก่อนการพากย์จะมีลูกคู่ทำให้เกิดความสนุกสนานมาก แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงคนเดียว ด้วยความที่เราจากจะเล่นเป็นก็เสาะหาคนที่เล่นเก่งๆ สมัยก่อนมีสโมสรเก่งๆหลายสโมสร บ้านใกล้เรือนเคียง เวลาเขาซ้อมกันผมก็ไปดูเพื่อเรียนลักพักจำ ดูว่าเขาเล่นกันยังไง ท่านี้เรียกว่าท่าอะไรทำยังไง ซึ่งก็ใช้เวลาเรียนรู้นานมาก ผมว่าผมใช้เวลาเตะอยู่ประมาณ20 ปีถึงจะเรียกว่าเชี่ยวชาญ เป็นนักกีฬาอาชีพ ถ้าเป็นมวยก็ถือว่าระดับบนเวทีแล้ว แต่ก่อนแถวบ้านมีตำรวจชื่อ "หมวดผิน" อยู่ที่ สน.บางยี่เรือ เขาเล่นตะกร้อลอดห่วงเก่งมาก ท่าสวยงามมากก็เป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งที่อยากจะเล่นให้ได้เก่งและถ้าสวยอย่างเขา

พอดีทางบ้านผมเขาก็สนับสนุน ส่วนตัวผมเองก็เป็นคนทำอะไรจริงจัง เรียกว่าซ้อมแบบไม่เลิกอ่ะ พอกลับจากโรงเรียนมาก็เริ่มซ้อมตั้งแต่ 18:00 น.ไปเรื่อยบางทีก็ถึงดึกเลย ที่ผ่านมาผมก็มีการลงแข่งขันเพื่อพัฒนาฝีมือมาตลอด ซึ่งกว่าจะมั่นใจในฝีมือก็ใช้เวลากว่า 20 ปี อย่างที่บอกครับ ที่ผ่านมา ผมก็ลงแข่งเพื่อพัฒนาฝีมือมาเรื่อย จนเข้ามาปีที่ 20 ถึง มั่นใจว่า ตนเอง เข้าระดับมวยบนเวทีแล้ว คือ ถ้าใครเล่นตะกร้อลอดห่วงเค้าจะรู้นะว่า ใครได้มาตราฐานหรือไม่ อย่างผู้เล่นที่ลงสนามไป 7 คน ทำได้กี่แต้มคนดูเป็นจะมองออกเลย และผู้เล่นทุกคนจะมีท่ามาตราฐาน คือ ลงไปยังไปเข้าแน่ แต่ก่อนที่ผ่านมาคือเข้ามั่งไม่เข้ามั่ง แต่หลังจากที่บอกว่าตัวเองเก่งคือบอกได้เลยว่าเข้าแน่นอน

ที่มาของการเข้ามาดูแลทีมตะกร้อลอดห่วง บช.น. เกิดจากการรวมตัวเวลาไปเตะทีมไหนขาดก็ไปเล่นให้ ซึ่งแต่ละคนก็มีความชอบเป็นทุนอยู่แล้ว ความรู้สึกคือเราชอบแข่งขัน  และใช้เวลาแข่งขันกันตอนเย็นเลิกงานแล้ว ต่อมาจึงมีความคิดว่า ทางตำรวจควรมีการตั้งทีมขึ้นมาเพื่อลงแข่งขัน พวกเราจะได้เตะตลอด เพราะมีการแข่งขันกีฬากองทัพไทยระหว่าง 4 เหล่าทัพ คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ ซึ่งก็มี การแข่งขันตะกร้อลอดบ่วง ด้วย  ก็ราวๆปี 2535 ตอนนั้นก็จะมี ดาบประกอบ ไกรพาล สน.พระโขนง กับ ดาบจงกล สน.บางยี่เรือ เป็นคนช่วยกันคุมทีม นักกีฬาไปแข่งขัน ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2545 ตอนนั้นผมดำรงตำแหน่งเป็น รอง ผกก.รถสายตรวจ 191 ผมจึงได้มาคุมทีม ตะกร้อลอดบ่วงตำรวจ และเป็นนักกีฬาลงแข่งด้วย

ผลการแข่งขันที่สร้างความภูมิใจและความประทับใจ...
1. การแข่งขันตะกร้อลอดห่วงชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน ม.ว.ก. ครั้งที่ 41 ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 17 -23 มิถุนายน 2562 ณ ไอส์แลนด์ ฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์
 : ชนะเลิศอันดับ1 ประเภทประชาชนชายทั่วไป (Thai Hoop Takraw Event)

ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก บัณทิตย์ มลายอริศูนย์ เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธิปิดการแข่งขัน ในวัน
อาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2562 เวลา 15.00 น. ณ ไอส์แลนด์ ฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์

2. การแข่งขันตะกร้อลอดห่วงชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 32 ระหว่างวันที่ 3-9 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา : สโมสรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รองชนะเลิศอันดับ 1

***ผลการแข่งขันที่ผ่านมาชนะเลิศสโมสรกองทัพบก
รองชนะเลิศอันดับ1, สโมสรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รองชนะเลิศอันดับที่ 2, สโมสรราชนาวี และสโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย***  

ขอบคุณแฟนคลับตะกร้อทุกท่านครับที่ช่วยเชียร์และให้กำลังใจกันมาตลอด
และขอแสดงความยินดีกับสโมสรกองทัพบกที่สามารถครองแชมป์ในครั้งนี้
ฝากติดตามผลงานทีมตะกร้อลอดห่วงได้ที่เพจ สโมสรตะกร้อลอดห่วงตำรวจแห่งชาติ รายการหน้าพวกเราจะกลับมาจะทำให้ดีกว่าเดิมแน่นอน ขอบคุณมากๆครับ

รายชื่อนักกีฬาในทีมตะกร้อลอดห่วง ....
1.พล.ต.ต.สมประสงค์ เย็นท้วม รอง ผบช.น.
2.ร.ต.ท.เอกกวี รื่นพารา รอง สว.ฝอ.5 บก.อก.บช.น
3.ส.ต.ต.อุดมพล ทองยั่งยืน ผบ.หมู่ ฝอ.2 บก.อก.บช.น.
4.ส.ต.อ.ธนันชัย สุปัน
ผบ.หมู่ (ป) สน.บางโพงพาง
5.ส.ต.ท.สืบสกุล​ ส่วยนุ
ผบ.หมู่(จร.)​ สน.หนองจอก
6. ส.ต.อ.โกมินทร์ เนาว์นนท์ ผบ.หมู่ ฝอ.4 บก.อก.บช.น.
7. ส.ต.ต. กัมพลป้อมประสิทธิ์ ผบ.หมู่ กองร้อยที่ 1 กองกำกับการควบคุมฝูงชน 2
8 ส.ต.ต.นนธวัฒ ธีระวัฒนา ผบ.หมู่ กองร้อย1 อารักขา1 บก.อคฝ.

"บ่วงนาคบาศ"

......................................,..
(ส่วนล่างนี้ถ้ายาวไปไม่ต้องใส่ก็ได้ครับ)
*วิธีการเล่นตะกร้อลอดห่วง*
จะแขวนห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ห่วง ขนาดเท่ากัน เส้นผ่าศูนย์กลางปากห่วงกว้าง 45 เซนติเมตร แขวนสูงจากพื้น 5.75 เมตร ผู้เล่นจะเตะตะกร้อให้โด่งขึ้นไปเข้าห่วง สนามที่ใช้ในการแข่งขันเป็นพื้นราบกว้าง 18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร อยู่กลางแจ้ง มีผู้เล่น 1 ชุด มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 6 คนและไม่เกิน 7 คน ต้องเตะให้ตะกร้อเข้าห่วงชัยให้มากที่สุดในเวลา 40 นาที ซึ่งใช้ท่าเตะ 30 ท่า แต่ละท่ามีคะแนนมากน้อยตามความยากง่าย

ลักษณะของห่วง และลูกตะกร้อ

ลูกตะกร้อที่ใช้มี 3 ขนาด
1. ขนาดทั่วไป 160 กรัม ใช้สาน 8 เส้น
2. ขนาด 180 กรัม ใช้สาน 8 เส้น ใช้แข่งเซปัคตะกร้อ
3. ขนาด 190-200 กรัม ใช้แข่งตะกร้อลอดห่วง

ขนาดของห่วง เส้นผ่าศูนย์กลาง 13 นิ้ว นำเหล็กมางอเป็นวงกลม 3 วง ผูกติดกันและใช้เชือกสานเป็นตาข่าย ในสมัยก่อนจะเรียกว่า “ห่วงลาว” ความกว้างของห่วงจะไม่เท่ากัน คือ
ห่วงที่ 1 เส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว
ห่วงที่ 2 เส้นผ่าศูนย์กลาง 14 นิ้ว
ห่วงที่ 3 เส้นผ่าศูนย์กลาง 14 นิ้ว
ห่วงลาวจะนำมาผูกติดกันเป็นเส้นตรง โดยมีตาข่ายอยู่ด้านในโดยวัดความสูงของก้นห่วงอันสุดท้ายจากพื้น 7 เมตร และมีการนำดอกไม้ประดิษฐ์มาประดับเพื่อให้เกิดความสวยงาม

"บ่วงนาคบาศ"
 

โพสต์ข่าวแนะนำ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

17 กรกฎาคม 2567  โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการวิจัยแก่บุคลากร ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 17 - 19 กรกฎาค...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ