วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์อินไซด์ทีวี

วันนี้ในอดีต
30 เมษายน พ.ศ. 2231 

ดาราศาสตร์ไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์ หยดหนึ่ง อันยิ่งใหญ่ในห้วงกว่า 332 ปีของดาราศาสตร์โลก 
 

30 เมษายน พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทอดพระเนตรสุริยุปราคาร่วมกับคณะบาทหลวงเยซูอิตจากฝรั่งเศส ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองละโว้ 

“หยดหนึ่ง อันยิ่งใหญ่ในห้วงกว่า 410 ปีของดาราศาสตร์โลก คือดาราศาสตร์ไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์”

พระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือ พระที่นั่งเย็น หรือ พระตำหนักทะเลชุบศร เป็นพระที่นั่งที่ประทับอีกแห่งหนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ เมืองลพบุรี 

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้างเพื่อทรงสำราญพระราชอิริยาบถ โดยสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อน พ.ศ. 2228 นับเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ของประเทศไทย เพราะพระองค์เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ถึง 2 ครั้ง

พระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือพระที่นั่งเย็น หรือตำหนักทะเลชุบศร ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร ห่างจาก ตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร

พระที่นั่งแห่งนี้เป็นที่ประทับในฤดูร้อน ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ เมืองลพบุรี 

องค์พระที่นั่งตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลชุบศร มีเขื่อนหินถือปูนล้อมรอบ ลักษณะทาง สถาปัตยกรรม เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน 

สภาพปัจจุบันคงเหลือกำแพงและผนัง ส่วนทะเลชุบศรในสมัยโบราณนั้น เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอด 

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ทำทำนบใหญ่กั้นน้ำไว้ เพื่อชักน้ำจากทะเลชุบศรผ่านท่อน้ำดินเผาไปยังเมืองลพบุรี 

ปัจจุบันยังเห็นเป็นสันดินปรากฏอยู่ พระที่นั่งเย็น เป็นสถานที่มีความสำคัญทางดาราศาสตร์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงใช้เป็นที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 และทอดพระเนตร สุริยุปราคา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2231 ร่วมกับคณะทูตและบาทหลวง จากประเทศฝรั่งเศสที่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี 

โดยในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2231 ได้เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาขึ้น สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนั้น สังเกตเห็นได้ในประเทศอินเดีย จีน ไซบีเรีย และทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเส้นทางเงามืด จึงสังเกตเห็นได้เป็นสุริยุปราคามืดบางส่วน

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี

โดยมีภาพวาดสีน้ำบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันภาพต้นฉบับนี้เก็บรักษาอยู่ในพิพพธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ กรุงปารีส โดยมีคำบรรยายเขียนกำกับไว้ว่า 

“สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับอยู่บนพระที่นั่ง ณ บัญชรของพระที่นั่ง บาทหลวงซูอิต (นุ่งชุดดำ) นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ โดยมีออกญาวิไชยเยนทร์ ทำหน้าที่เป็นล่าม ขุนนางสยามต่างค้อมศีรษะถวายบังคม และมีการตั้งกล้องดูดาว เพื่อติดตามการเคลื่อนของดวงอาทิตย์”

โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทอดพระเนตรภาพดวงอาทิตย์บนฉากที่รับภาพจากกล้องโทรทรรศน์ที่บาทหลวงตั้งถวายให้ทอดพระเนตร  เพื่อให้สังเกตภาพดวงอาทิตย์ได้ โดยไม่เป็นอันตรายแก่พระเนตร

ภาพประกอบ : 

ภาพบน : ภาพเขียนโดยชาวฝรั่งเศส แสดงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคา ในเวลาตอนเช้า ของวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2231 ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี ปัจจุบันภาพต้นฉบับนี้เก็บรักษาอยู่ในพิพพธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ กรุงปารีส

ภาพล่าง : พระที่นั่งเย็นในสภาพที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน

หมายเหตุ
ภาพวาดสีน้ำภาพนี้มีรายละเอียดผมไปเช็คในวิกิพีเดีย แล้วพบว่าเป็นข้อความและเนื้อหาที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นภาพเหตุการณ์เมื่อเสด็จออกชมจันทรุปราคาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228  แต่ด้วยความที่เป็นวิกิพีเดีย ที่เป็นที่เชื่อถือ จึงมีคนคัดลอกไปลงในสื่อต่าง แม้แต่ในเวปไซต์ของหนังสือพิมพ์ชื่อดังของไทยด้วย

Cr ข้อมูลและภาพประกอบบางส่วนจาก FC อัษฎางค์ ยมนาค

Cr ภาพประกอบเพิ่มเติมจาก อินเทอร์เน็ต (ขอบคุณเจ้าของภาพ)

Posted by Onnie 🦋
รายงาน

โพสต์ข่าวแนะนำ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

17 กรกฎาคม 2567  โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการวิจัยแก่บุคลากร ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 17 - 19 กรกฎาค...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ