วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ชี้แจงราคาสับปะรดห้วยมุ่น
เมื่อเวลา 13.45 น.วันที่ 2 มิถุนายน 2565 ที่ชั้น 2 สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
นายพัฒนศักดิ์  พ่วงสมบัติ   เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ มอบหมายให้นางสาวหัทยา  พรมโต หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สนง.เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์
เปิดเผยกับทีมข่าวว่าจากกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องราคาของสับปะรดห้วยมุ่นราคาผลิตตกต่ำลงเหลือกิโลละ1 บาทนั้นความเป็นจริงวันนี้สับปะรดห้วยมุ่นในเดือนนี้มีผลผลิตออกมากผลผลิตประมาณ 20,000 ตัน
ช่วงของการระบาดของโรคโควิคทำให้ทางโรงงานสับปะรดหลายแห่งต่างก็ลดปริมาณการผลิตลงหรือบางโรงงานมีการปิดตัวลงทำให้ผลผลิตสับปะรดที่จะส่งไปยังโรงงานมีโควต้าน้อยลงนอกจากนี้ยังมีสับปะรดจากแหล่งอื่นอีกเยอะหลังจากผ่านเดือนมิถุนายนนี้ผ่านไปจะเหลือผลผลิตของสับปะรดที่อื่นน้อยลง ก็จะทำให้เกษตรกรส่งออกได้สะดวก ทาง จังหวัดอุตรดิตถ์ก็ได้หาทางแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร โดยได้ประสาน สนง.พาณิชย์เข้ามาช่วยรับซื้อหาordeให้เกษตรกร  ส่วนของ สนง.เกษตรจ.อุตรดิตถ์ก็ช่วยสั่ง 700 กิโลกรัม นอกจากนี้ก็ยังมีหน่วยงานอื่นๆทั่วไปได้ช่วยกันสั่งซื้อในราคากิโลกรัมละ 12 บาท
 ฝากถึงเกษตรกรว่าช่วงนี้อยากให้เกษตรกรสบายใจว่าหน่วยงานราชการไม่ทอดทิ้งเกษตรกรแน่นอน นายผล ดำธรรม ผวจ.อุตรดิตถ์และหัวหน้าส่วนราชการได้ประชุมหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรข่าวลือที่ว่าสับปะรดราคา 1 บาทนั้นไม่มีความจริงปกติรับซื้อนั้นมีหลายเกรด 3 บาทถึง 6 บาทแต่ 1 บาทนั้นวันที่ลงพื้นที่ก็ไม่เป็นความจริงคือตอนนี้เรากินสับปะรดกิโลละ 12 บาท ที่กรุงเทพฯสำนักงานเศรษฐกิจช่วยเอาสับปะรดไปกระจายที่กรุงเทพฯในราคากิโลละ 20 บาท 
ทางด้านนายผล ดำธรรม ผวจ.อุตรดิตถ์ได้ประชุมคณะกรรมการการแก้ไขปัญหาผลผลิตทางท่านผู้ว่าได้สั่งการให้นายพยงค์ ยาเภา รอง ผวจ. อุตรดิตถ์ และนายพัฒนศักดิ์ พ่วงสมบัติ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ หาแนวทาง 
โดยที่สำนักงานพาณิชย์รายงานสถานการณ์ว่า สับปะรดห้วยมุ่นน้ำหนึ่งราคา 5-7 บาทเป็นราคาที่เกษตรกรรับได้ผลผลิตออกเยอะในเดือนมิถุนายน ถ้า 2 เดือนรวมกันผลผลิตจะเยอะมากประมาณ 65% ราวๆเกือบ 40,000 ตันตอนนี้ได้หาทางกระจายผลผลิตสับปะรดออกนอกพื้นที่โดยประสานกับสหกรณ์จังหวัดหา ordeโดยใช้กลไกบริหารโดยสหกรณ์น้ำปาดในการที่จะกระจายผลผลิตออกนอกพื้นที่ ให้นำผลผลิตสับปะรดลงมาส่งให้ได้ จะได้คุ้มค่ากับการขนส่งคือ 500 กิโลกรัมขึ้นไป สนง.พาณิชย์ร่วมกับ สนง.เกษตรอำเภอเน้นการบริหารจัดการโดยใช้กลุ่มเป็นหลักเพื่อไม่ให้ไปจุดใดจุดหนึ่งโดยใช้กลุ่มที่มีการจดทะเบียนคือรัฐวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มแปลงใหญ่เป็นจุดรวบรวมผลผลิตแล้วนำมาส่ง ส่วนราชการอื่นๆที่สั่งซื้อก็หาแหล่งจำหน่ายในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าฟรายเดย์ ตลาดนัดหัวรถจักร หรือห้างศรีพงษ์พาร์ค ตลอดจน ตลาดเกษตรกร 4 แหล่ง ท่าน ผจว.คิดว่าในเมื่อสับปะรดห้วยมุ่นน้ำหนึ่งจริงๆไม่ได้มีปัญหาฉะนั้นก็ให้เป็นไปตามกลไกตามปกติที่ส่วนที่เกิดการชะงักเนื่องจากการที่เกษตรกรนำผลผลิตส่งเข้าโรงงานที่ชลบุรีแล้วได้ไม่มากเพราะช่วงที่ผ่านมาโรงงานมีการปิดตัวลงประกอบกับค่าขนส่งสูง นอกจากนั้นท่านผวจ.อุตรดิตถ์ ยังมอบหมายให้อุตสาหกรรมจังหวัดติดต่อไปทางโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรดที่ จ.ลำปาง จ.กาญจนบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์เพื่อหาordeหรือผู้ประกอบการในพื้นที่ให้ช่วยกันซื้อผลผลิตสับปะรดห้วยมุ่นของจังหวัดเราต่อไป
เอนก ธรรมใจ
รายงาน 
น.ส.พัทธนันท์ ราชประสิทธิ์
ภาพข่าว
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
สนับสนุนโดย
รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ผู้ประสบอัคคีภัยบริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ผู้ประสบอัคคีภัยบริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินท...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ