จังหวัดสุพรรณบุรีจัดการอบรมดนรีสร้างสรรค์เชิงปฏิบัติการและการแสดงวงดุริยางค์เครื่องลมในภูมิภาคอาเซียน ASEAN WINDS BAND 2022
วันนี้ (17 กรกฎาคม 2565) ที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วย นางสาวดารุณีธรรมโพธิ์ดล ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรมผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ดร.อุดม โปร่งฟ้า ดร.สุจิตรา ทรงมัจฉา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล นายชูชีพ พงษ์ไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อํานวยการ อพท. และ ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ รองผู้อํานวยการ อพท. หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมชมการแสดงวงดุริยางค์เครื่องลมในภูมิภาคอาเซียน ASEAN WINDS BAND 2022 ซึ่งจังหวัดสุพรรณบุรี ดันวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านสู่เวทีสากล ผ่านวงออร์เคสตร้า ร่วมกับคณะนักดนตรีเยาวชน นักการศึกษาด้านดนตรีจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในนาม ของวง ASEAN Youth Winds นักดนตรีเยาวชนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุพรรณบุรี และครูดนตรีจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมก้าวสู่การเป็น "เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก" ในการยกระดับอัตลัษณ์ทางดนตรีของจังหวัดสุพรรณบุรี ก้าวสู่ระดับโลก
จังหวัดสุพรรณบุรีจัดกิจกรรมดนตรีในระดับนานาชาติ ASEAN WINDS BAND 2022 ซึ่งมีจัดกิจกรรมอบรมดนตรีสร้างสรรค์เชิงปฏิบัติการร่วมกับภาคีเครือข่ายในระดับภูมิภาคและการแสดงผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วย นับเป็นโอกาสอันดีที่นักดนตรีเยาวชนในท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรีจะได้มีประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านดนตรีและวัฒนธรรมร่วมกับนักดนตรีในภูมิภาคอาเชียน รวมถึงเป็นเวทีในการแสดงคอนเสิร์ตของนักดนตรีในท้องถิ่นในเวทีระดับนานาชาติอีกด้วย ยกระดับอัตลักษณ์ทางดนตรีของจังหวัดสุพรรณบุรี ก้าวสู่ระดับโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากร ทางด้านดนตรีของจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นอย่างยิ่ง และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาเมืองในพื้นที่พิเศษ เพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยเพื่อที่จะได้เปิดประเทศสู่สากล สร้างชื่อเสียงของสุพรรณบุรีให้ปรากฎอยู่บนแผนที่โลก และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนและพัฒนาเมืองตามแนวนโยบายและยุทธศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรีให้เป็นเมืองน่าอยู่ สู่เมืองแห่งความสุข โดยมีเจตนารมณ์ ความมุ่งมั่น และเจตจำนงอย่างแน่วแน่ ในการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก เพื่อเข้าสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ตามแผนพัฒนาโลก สู่โลกอย่างยั่งยืน
จังหวัดสุพรรณบุรีพรั่งพร้อมด้วยมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาด้านคีตศิลป์ มีรากฐานและสินทรัพย์ด้านดนตรีที่เข้มแข็งผสานกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตของผู้คนหลากชาติพันธุ์บนที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีนแห่งนี้มาอย่างยาวนานบทเพลงและลำนำแห่งดนตรีในจังหวะและลีลาต่างๆ ผ่านภาษาพื้นถิ่นและสำเนียงเสียง "เหน่อ" ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของ "คนสุพรรณ" ได้รังสรรค์สุนทรียภาพและความรื่นรมย์ให้กับคนไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ความโดดเด่นทางดนตรีกวีศิลป์ของ "คนสุพรรณ" และการสืบสานส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างชีวิตและจิตวิญญาณของผู้คนกับดนตรีที่ผสานเป็นหนึ่งเดียว สายธารดนตรีที่ยิ่งใหญ่ 5 สายธาร "เบญจภาคีดนตรีสุพรรณ" ทั้งเพลงพื้นบ้าน เพลงไทยเดิม เพลงลูกทุ่ง เพลงเพื่อชีวิต และเพลงสตริงสมัยใหม่ในวันนี้ ยังคงถ่ายทอดสู่คนไทยทั้งประเทศโดยคนดนตรีสุพรรณบุรีอย่างต่อเนื่อง และใช้ดนตรีเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา ต่อยอด สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางด้านวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับเมืองสุพรรณบุรี ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรีแห่งแรกของประเทศไทย โดยได้บูรณาการความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และท้องถิ่น ตลอดจนเครือข่ายคนดนตรีกลุ่มต่าง ๆ
ปิยะพงษ์ สุขเผือก/ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุพรรณบุรี
สนับสนุนโดย