วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

นักศึกษาวิศวะฯสิ่งแวดล้อม และการจัดการภัยพิบัติ ม.มหิดล เปิดเผยผลศึกษาข้อมูลต้นเหตุ ละอองฝุ่น “มองจากฟ้า หาต้นตอฝุ่นในช่วงวิกฤติหมอกควัน ”
---------------------------------
วันที่ 21 ธันวาคม 2565  ผู้สื่อข่าว ได้รับการเปิดเผยจาก นางสาวพัชราภรณ์ ลักษณะเบี้ย และนางสาวเมย์ลภัส เขียวดีธนานนท์   นักศึกษาสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ   มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี  ว่า ได้มีการรวบรวมและวิเคราะห์ผลการศึกษาข้อมูล จาก เหตุการณ์วิกฤติหมอกควันในอดีต และศึกษาแหล่งที่มาของละอองฝุ่น  โดย ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการแนะนำและควบคุมคุณภาพโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอริกา พฤฒิกิตติ  อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี   
นางสาวพัชราภรณ์ ลักษณะเบี้ย และนางสาวเมย์ลภัส เขียวดีธนานนท์   กล่าวว่า “เป็นที่รู้กันว่า  ปัญหาวิกฤติหมอกควันมักจะมาเยี่ยมเยือนจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดกรุงเทพมหานคร และหลายจังหวัดในประเทศไทย ของเราอย่างสม่ำเสมอในช่วงฤดูแล้ง จนหลายครั้งทั้งสองพื้นที่นี้ถูกจัดอันดับเป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก นั่นไม่ใช่สิ่งที่คนไทยภาคภูมืใจ กรมควบคุมมลพิษฯ ติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในหลายจุดในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เพื่อช่วยรายงานสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหาวิกฤติหมอกควันให้ประชาชนทราบเพื่อรับมืออย่างทันท่วงที แต่ความสามารถในการระบุแหล่งที่มาของละอองฝุ่นเหล่านี้ยังจำกัดอยู่”
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นางสาวพัชราภรณ์ ลักษณะเบี้ย และนางสาวเมย์ลภัส เขียวดีธนานนท์ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี รวบรวมเหตุการณ์วิกฤติหมอกควันในอดีต และศึกษาแหล่งที่มาของละอองฝุ่นเหล่านั้นผ่านข้อมูลละอองลอยจากดาวเทียม The Cloud-Aerosol Lidar and Infrared Pathfinder Satellite Observation (CALIPSO, www-calipso.larc.nasa.gov) เพื่อบ่งชี้ประเภทละอองฝุ่น ร่วมกับการวิเคราะห์เส้นทางย้อนกลับ (Backward Trajectory Analysis) โดยใช้แบบจำลอง Hybrid Single Particle Lagrangian Integrated Trajectory Model (HYSPLIT, https://ready.arl.noaa.gov/HYSPLIT.php) ของหน่วยงาน US NOAA
ผลการวิเคราะห์พบว่ากรุงเทพมหานครในช่วงระดับฝุ่นต่ำส่วนใหญ่จะพบฝุ่นประเภท ฝุ่นปนเปื้อนจากกิจกรรมมนุษย์ (Polluted dust) ส่วนในช่วงระดับฝุ่นสูงจะพบชนิดฝุ่นประเภท ฝุ่นปนเปื้อนจากกิจกรรมมนุษย์ (Polluted dust) เเละควันจากการเผาไหม้ชีวมวลในระดับสูงจากผิวดิน (Elevated smoke) ร่วมด้วย ในกรณีเชียงใหม่ในช่วงระดับฝุ่นสูง จะพบฝุ่นประเภทฝุ่นปนเปื้อนจากกิจกรรมมนุษย์ (Polluted dust) เป็นส่วนใหญ่ ในช่วงระดับฝุ่นต่ำ จะพบฝุ่นประเภทละอองผสมทั้งจากฝุ่นจากกิจกรรมมนุษย์และควันจากเผาไหม้ชีวมวล (Polluted continental/smoke) และฝุ่นดิน (Dust) 
นอกจากนี้ เส้นทางเดินย้อนกลับของมวลอากาศแสดงให้เห็นว่า ในช่วงระดับฝุ่นต่ำ มวลอากาศมักจะมีทิศทางลมมากจากรอบทิศทางครอบคลุมบริเวณไม่กว้างนัก ทำให้บ่งชี้ว่าฝุ่นในช่วงนี้มาจากกิจกรรมมนุษย์ในพื้นที่ ในขณะที่ช่วงระดับฝุ่นสูง ลมจะมีทิศทางข้ามพรมแดนมาจากทะเลหรือประเทศเพื่อนบ้านชัดเจน จึงสามารถสรุปได้ว่า ในช่วงวิกฤติหมอกควัน ละอองฝุ่นข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้านมีส่วนสำคัญต่อปริมาณฝุ่นที่สูงขึ้น โดยพัดพาฝุ่นจำพวก ฝุ่นที่ปนเปื้อนจากกิจกรรมมนุษย์ (Polluted dust) ในกรณีจังหวัดกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ และควันจากการเผาไหม้ชีวมวล (elevated smoke) ในกรณีจังหวัดกรุงเทพฯ   (ดังภาพตัวอย่าง )  โดยข้อมูลที่นักศึกษาดำเนินการจัดทำ เป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เพื่อให้ประชาชนและนักศึกษาทราบถึง สาเหตุการเกิดของฝุ่นละออง เพื่อเกิดความเข้าใจและอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือร่วมใจ ป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ต่อไป   ทั้งนี้  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ยังมีโครงการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้การจัดการฝุ่นละอองในหลากหลายประเด็น หากประชาชนท่านใดต้องการปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอริกา พฤฒิกิตติ  Email  arika.bri@mahidol.edu”   สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ในวันและเวลาราชการ ที่เบอร์โทรศัพท์  034 585058 
สนับสนุนโดย
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

จบลงอย่างสวยงาม กับเวทีประกวด “Mrs. Thailand World Nonthaburi 2025” บุคคลสำคัญในจังหวัดนนทบุรีร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ จบลงอย่างสวยงาม กับเวทีประกวด “Mrs. Thailand World Nonthaburi 2025” บุคคลสำคัญในจังหวัดนนทบุรีร่วมงานกันอย่าง...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ

ข่าวดังรายสัปดาห์ HOT NEWS