วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

มุกดาหารจัดโครงการพัฒนาโปรแกรม " นวัตกรรมสุขภาพ" บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ประเภทแอมเฟตามีน
มุกดาหาร /เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 
พลตำรวจเอกเฉลิมเกียรติ   ศรีวรขาน รศ.ดร.ภญ. อรุณพร   อิฐรัตน์  นายเอกราช  มณีกรรณ์  ปลัดจังหวัดมุกดาหาร    นางกัลยากร  สุขสานต์  รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร  หัวหน้าส่วนราชการ คณะวิทยากร เจ้าหน้าที่  ร่วมเป็นเกียรติในการอบรมโครงการพัฒนาโปรแกรม " นวัตกรรมสุขภาพ" บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ประเภทแอมเฟตามีน จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นผู้ป่วยยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีน เพศชาย อายุ 18-60 ปี และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยตำรวจภูธรจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 30 คน  ณ  ธารจินดารีสอร์ท  อ.เมือง  จ.มุกดาหาร  
นายเอกราช  มณีกรรณ์  ปลัดจังหวัดมุกดาหารกล่าวว่า  ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในประเทศไทยมีความรุนแรงและระบาดอย่างหนักทั่วทุกภูมิภาค ปัญหาเหล่านี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ และใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะบุคคล หรือเฉพาะชุมชนเท่านั้น หากแต่เป็นปัญหาที่ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข จะส่งผลให้สังคมโดยส่วนรวมเกิดปัญหาในวงกว้าง ถ้าสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมยังคงติดยาเสพติด ขาดภูมิคุ้มกันที่ดีพอจากครอบครัว ที่จะเป็นเกราะคอยป้องกัน อาจตกเป็นทาสของยาเสพติดได้ไม่วันใดก็วันหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือปฏิบัติงานอย่างจริงจัง จึงจะส่งผลให้ความรุนแรงลดลงเป็นลำดับ ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2564 ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564  มีผลบังคับใช้ โดยเจตนารมย์ของประมวลกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้ผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดได้รับการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสมด้วยกระบวนการทางสาธารณสุข ให้โอกาสผู้เสพหรือครอบครองเพื่อเสพสามารถสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาแทนการดำเนินคดีอาญา และผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูได้รับการช่วยเหลือและให้การสงเคราะห์จากสถานฟื้นฟูสภาพทางสังคมตามนโยบาย "ผู้เสพคือผู้ป่วย" สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ระยะ 20 ปี(2560-2579) ประเทศไทยมั่นคงปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน กระบวนการบำบัดรักษาที่เป็นจริงจัง เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องให้ความสำคัญ  ฉะนั้นทุกฝ่ายต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้อันเป็นแนวทางในการดำเนินงานการช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดโดยการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  เพื่อให้เป็นโมเดลสำหรับการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ให้กับประเทศในอนาคต  การบำบัดรักษาตามโปรแกรม " นวัตกรรมสุขภาพ" เป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจและสมควรได้รับการผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในวงกว้าง
ปัญหาด้านยาเสพติด จังหวัดมุกดาหารได้ให้ความสำคัญและกำหนดนโยบายทั้งด้านการปราบปราม ป้องกันและการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดที่เป็นวาระสำคัญและขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งจังหวัด  เนื่องจากมุกดาหารเป็นจังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดและใกล้เคียงกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีอำเภอที่อยู่ติดชายแดน ทำให้มีการลำเลียงยาเสพติดเข้ามาในเขตพื้นที่ได้ง่าย ยากแก่การเฝ้าระวัง ส่วนใหญ่ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในพื้นที่เกิดจากการนำเข้าเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างแพร่หลายทั้งในกลุ่มวัยแรงงาน และในกลุ่มเด็กและเยาวชนจากข้อมูลสถานการณ์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ระหว่างปี 2560-2564  ในปี 2560 มีผู้เข้าการบำบัดรักษา จำนวน 2,001 คน และมีแนวโน้มลดลงในปี 2561-2562 จำนวน 1,655 คน และจำนวน 1,626 คน ตามลำดับ แต่กลับพบว่าระหว่างปี 2563-2564 ถึงแม้จะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ผู้ติดยาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น คือ จำนวน 1,813 คน , 1,197 คน และ 2,001 คน ตามลำดับ 
นายชนันตชัย  พฤษ์สุกาญจน์  คณะทำงาน/วิทยากรกระบวนการ  กล่าวว่า โครงการพัฒนาโปรแกรม " นวัตกรรมสุขภาพ" บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ประเภทแอมเฟตามีน จังหวัดมุกดาหารเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งแรกจัดที่จังหวัดนครพนม  ในนามคณะทำงานได้ประชุมและลงพื้นที่  ซึ่งในวันนี้ (23 ธันวาคม 2565) ต้องขอขอบคุณนางกัลยากร  สุขสานต์  รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร ที่ให้การสนับสนุนวิทยากร นำช่างตัดผมมาให้บริการแก่ผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด การอบรมเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 -28 ธันวาคม 2565 ได้ผ่านกระบวนการอบรม 3 วันแรก  ซึ่งเรามีการ MOU ทุกส่วนในกรณีฉุกเฉิน ในส่วนความปลอดภัยได้รับการสนับสนุนจากป้องกันจังหวัด   เราแบ่งสัดส่วนในการล้างพิษด้วยพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ป่วยโดยประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทยที่ต้องคัดกรองตามความสมัครใจ เป็นการบำบัดด้วยโปรแกรมทั้งหมด 10 วัน เป็นการบำบัด ทั้งการบำบัดทางกาย บำบัดทางจิต และการบำบัดทางสังคมและทักษะอาชีพ โดยการส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน การใช้สังคมบำบัดและการติดตามประเมินผลผู้ติดยาเสพติด ด้วยการติดหลังจากการอบรม 3 เดือน เพื่อประเมินผลการเสพยา การใช้ชีวิตในสังคม และการประเมินต่อยอดงานจากบุคคลภายนอกที่มาประเมินโครงการในภาพรวม

ไกรสมุทร  นามโพธิ์ไทร /รายงานจากมุกดาหาร
081-0501177
สนับสนุนโดย
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

วันที่ 25 เมษายน 2567 กลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชน และชมรมผู้ผู้สูงอายุโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ร่วมทำบุญถ...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ