วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

ชำนาญ ศรีสวัสดิ์ (โกจง) นั่งประธานสทท.คนใหม่ต่ออีกสมัย
วันที่ 03 มกราคม 2566 “ชำนาญ ศรีสวัสดิ์” หรือ โกจง นั่งประธานสทท.ต่ออีกสมัย ประจำปี 2566 – 2568 หลังได้รับคะแนนเลือกตั้งเป็นเอกฉันท์ เน้น 4 กลยุทธพลิกฟื้นการท่องเที่ยวไทย ต้องพลิกฟื้นซัพพลาย ไซด์ มองในภาพรวมด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องผลักดันให้รายเล็กอยู่รอดได้
การเลือกตั้งประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.)คนใหม่ในวันที่ 3 ม.ค.66 ต้องถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่มีสีสันมากที่สุดก็ว่าได้ ท่ามกลางแรงเชียร์อย่างดุเดือดในทั้ง 2 ฝั่งของผู้สมัคร 2 ราย “ชำนาญ ศรีสวัสดิ์” อดีตประธานสทท.ที่เสนอตัวลงแข่งขันต่ออีกสมัย และคู่ท้าชิงรายใหม่ “ภูมิกิตติ์ รักแต่งาม”ประธานที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต หนึ่งในผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดัน “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์”

ผลการลงคะแนนเลือกตั้งในวันนี้ล่าสุดพบว่า “ชำนาญ​ ศรีสวัสดิ์” หรือ โกจง ได้นั่งตำแหน่งประธานสทท.ต่ออีกสมัย ประจำปี 2566-2568 โดยได้รับคะแนน​เลือกตั้ง​เป็น​เอกฉันท์​

ทั้งนี้ผลการลงคะแนนเลือกตั้ง​ประธาน​สภา​อุตสาหกรรม​ท่องเที่ยว​แห่ง​ประเทศไทย​ รอบแรก​ ประเภทเขตพื้นที่

ทีมที่​ 1​ คุณภูมิ​กิตติ์ ​ รักแต่​งาม​ (โก้)​ ได้คะแนนรวม​ 68​ คะแนน
ทีมที่​ 2​ คุณ​ชำนาญ​ ศรีสวัสดิ์​ (โก​จง)​ ได้คะแนนรวม​ 96 คะแนน
รวม​ 164  คะแนน​ **หมายเหตุ​:กระดาษ​เปล่า​ 1​ ใบ**

ส่วนผลการลงคะแนนเลือกตั้ง​ประธาน​สภา​อุตสาหกรรม​ท่องเที่ยว​แห่ง​ประเทศไทย​ รอบที่​ 2 ประเภทสาขาวิชา​ชีพ
ทีมที่​ 1​ คุณภูมิ​กิตติ์​ รักแต่​งาม​ (โก้)​ ได้คะแนนรวม​ 67 คะแนน
ทีมที่​ 2​ คุณ​ชำนาญ​ ศรีสวัสดิ์​ (โก​จง)​ ได้คะแนนรวม​  97 คะแนน
รวม​ 164  คะแนน​ **หมายเหตุ​:กระดาษ​เปล่า​ 1​ ใบ

โดยสรุปผลลงคะแนนแล้ว สรุปได้ว่า นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ (โกจง) นั่งประธานสทท.คนใหม่ต่ออีกสมัย
ทั้งนี้ นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสทท. เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว/ช่างภาพว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ผมใช้แคมเปญหาเสียงว่า “โกจง ตัวจริงท่องเที่ยวไทย” เพราะผมไม่เพียงแต่อยู่ในธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมาตลอดชีวิตเท่านั้น  แต่ยังทำงานในสมาคมด้านการท่องเที่ยวต่างๆต่อเนื่อง  ก่อนมานั่งเก้าอี้ประสานสทท.เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำ การตัดสินใจลงชิงตำแหน่งนี้ต่ออีกสมัย ต้องการขับเคลื่อนการทำงานให้มีความต่อเนื่อง และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงการเดินสายพบผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ทำให้รู้ว่าสทท.ต้องมีกลยุทธอย่างไรในการขับเคลื่อน เพื่อฟื้นทางรอดท่องเที่ยวไทย  

หัวใจหลักของการท่องเที่ยวหลังโควิด คือ “พลิกฟื้นการท่องเที่ยวไทย ต้องพลิกฟื้นซัพพลาย ไซด์ ให้เกิดขึ้นให้ได้” ไม่งั้นการท่องเที่ยวไม่มีวันฟื้น ซึ่งการทำงานของสทท.ผมจึงไม่ได้มองแค่บริษัทใหญ่ แต่มองในภาพรวมด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องผลักดันให้รายเล็กอยู่รอดได้  นโยบายของผมจึงเน้น 4 กลยุทธ ได้แก่
1.เติมทุน ซึ่งที่ผ่านมาเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะเข้าแหล่งเงินจากสถาบันการเงินและโครงการต่างๆของภาครัฐ การผลักดันให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนท่องเที่ยว  ก็เป็นสิ่งที่ผมจะผลักดันต่อ
2.เติมความรู้ เน้นเรื่องการรีสกิล-อัพสกิล เพราะคนการทำงานหลังโควิดไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
3.เติมลูกค้า ซึ่งวันนี้ไทยมีนักท่องเที่ยวกลับมาแค่ 10 ล้านคน จาก 40 ล้านคน ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจ ซึ่งเป็นซัพพลาย ไซด์ในธุรกิจท่องเที่ยว  กว่า 75% ยังย่ำแย่อยู่จึงต้องผลักดันการเพิ่มขึ้นของตลาดต่างชาติและการเดินทางเที่ยวในประเทศต่อเนื่อง 
4.เติมนวัตกรรมเน้นการใช้เทคโนโลยีมาสร้างโอกาสในการขายให้แก่ผู้ประกอบการ
ขณะเดียวกันผมยังมองเรื่อง “การพัฒนาท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ” คนตัวเล็กตัวใหญ่ต้องได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรอง ซึ่งจะต้องคิดใหม่ทำใหม่ด้วยการ Re-design สินค้าที่ตอบโจทย์ยุคอนาคต เช่น บางพื้นที่อาจไม่มีจุดขายด้านการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง การสร้างแหล่งท่องเที่ยวMan-Made จึงต้องมี

สุดท้ายผมมองว่า “ต้องสร้างให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ” เนื่องจากการท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับทุกกระทรวง และสร้างจีดีพีให้ประเทศได้ถึง 20% หากมีนายกรัฐมนตรีนั่งหัวโต๊ะเคาะโต๊ะ ก็จะทำให้การแก้ปัญหาหรือการขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยวเป็นกลไกที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีมากกว่าที่เป็นอยู่
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ผู้ประสบอัคคีภัยบริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ผู้ประสบอัคคีภัยบริเวณตลาดสดเทศบาลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินท...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ