วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

“อลงกรณ์” เชื่อมั่นไทยพร้อมก้าวขึ้นสู่ประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารท็อปเทนของโลก เร่งเจรจาเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ.)กับยุโรปและอังกฤษ
ปูทางสร้างโอกาสให้ผู้ส่งออกไทยขยายตลาดทั่วโลก พร้อมแนะผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยปรับตัวรับมือกฎหมายและกฎระเบียบใหม่ของอียู.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวปาฐกถาเปิดงานเสวนาบนเวทีของงานแถลงข่าวประจำปี NRF 2023 Annual Press conference 'Big Move' ภายใต้ประเด็นเสวนา“ปัญหาและโอกาสสู่ทางออกของการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทยในตลาดยุโรปและอังกฤษ” โดยมี คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NRF คุณอิทธิพล เลิศศักดิ์ธนกุล. ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ Exim Bank และคุณณัฐศักดิ์ มนัสรังษี K Fresh เข้าร่วม ณ ลิโด้ คอนเนคท์ (ห้องลิโด้ 1) สยามสแควร์ซอย 3 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญภาครัฐได้แสดงความคิดเห็น และแชร์ประสบการณ์ให้แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อยในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของไทย เพื่อร่วมต่อยอดความคิดและร่วมหาทางแก้ปัญหา อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการผลักดัน สินค้าเกษตรและอาหารไทยไปสู่ตลาดยุโรปและอังกฤษโดยเฉพาะบริษัทชั้นแนวหน้าชองไทยเช่นเอ็นอาร์เอฟ(NRF)ที่มีเป้าหมายขยายเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าอาหารไทยและเอเซียในอังกฤษและยุโรปซึ่งมีมูลค่าตลาดนี้ 10 พันล้านดอลลาร์หรือกว่า3แสนล้านบาท
   นายอลงกรณ์ กล่าวปาฐกถาว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์และผู้ประกอบการเอกชนในการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยไปสหภาพยุโรปและอังกฤษซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าอันดับ 4 ของไทยจึงให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรฯ. ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เร่งเปิดทางสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไปอียูและอังกฤษโดยกระทรวงเกษตรฯได้ลงนามเอ็มโอยูกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมอาหารและกิจการชนบทของอังกฤษเพื่อขยายความร่วมมือทางการเกษตรทุกมิติรวมทั้งการขจัดอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหารเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์เร่งเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี(FTA)3กรอบสำคัญคือ เอฟทีเอ.ไทย-อียู. เอฟทีเอ.ไทย-อังกฤษและเอฟทีเอ.ไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA)ซึ่งมีสมาชิก 5 ประเทศ คือ รัสเซีย, คาซัคสถาน, เบลารุส, อาร์เมเนีย และคีร์กีซสถาน  เป็นก้าวใหม่ก้าวใหญ่ของภาครัฐผสมผสานกับบิ๊กมูฟของภาคเอกชนในวันนี้ จึงมั่นใจว่าประเทศไทยจะบรรลุความสำเร็จที่ตั้งเป้าหมายเป็นมหาอำนาจทางอาหารท็อปเทนของโลกภายในปี2030เป็นอาหารปลอดภัย(Food Safety)ที่มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของสำนักงาน”มกอช.”ตั้งแต่ฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร(Farm 2 Tables)ภายใต้การพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมลดปัญหาภาวะโลกร้อนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งสหภาพยุโรปและอังกฤษตลอดจนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางเรือ ทางอากาศและทางบกโดยเฉพาะการขนส่งทางรางบนเส้นทางรถไฟสายไทย-จีน-ลาว-ยุโรป

สำหรับโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ทั้งในเรื่องการรักษาและขยายส่วนแบ่งการตลาดในสินค้าหลักที่มีฐานการตลาดอยู่เดิม ได้แก่ 1) สินค้าปศุสัตว์ - ไก่แปรรูปและไก่หมักเกลือ (สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์) โดยในปี 2565 ประเทศไทยส่งออกไก่แปรรูปไปยังสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร มูลค่า 38,000 ล้านบาท ซึ่งขยายตัวจากปี 2564 ถึงร้อยละ 69 2) สินค้าพืชผักผลไม้สดผลไม้แปรรูป และข้าว (สหราชอาณาจักร อิตาลี เนเธอร์แลนด์) สับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดกระป๋อง และผลไม้กระป๋อง (เนเธอร์แลนด์และเยอรมนี) 3) สินค้าประมงและสัตว์น้ำ (แช่แข็งและแปรรูป) - ปลาหมึกแช่แข็ง (อิตาลี) ปลาทูน่ากระป๋อง (เนเธอร์แลนด์) และ 4) ยางพาราและผลิตภัณฑ์ (เยอรมนี เนเธอร์แลนก์ สเปน เบลเยียม อิตาลี)และ5)สินค้าที่มีศักยภาพในอนาคต(Future Food) ได้แก่
1.สินค้าโปรตีนทางเลือกจากพืช(plant based protein )
2.สินค้าโปรตีนทางเลือกจากแมลง(edible insect based protein)
3.สินค้านวัตกรรมที่ตอบสนองโภชนาการของผู้บริโภค

นายอลงกรณ์ยังเสนอแนะด้วยว่า ผู้ประกอบการของไทยต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับโอกาสและปัญหาและอุปสรรคในเรื่องของกฎระเบียบต่าง ๆ ได้แก่ 1) กฎระเบียบด้านมาตรฐานและความปลอดภัยอาหาร ซึ่งปัจจุบันไม่เพียงแต่ครอบคลุมเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยอาหารที่ประเทศผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมประเด็นสวัสดิภาพสัตว์ สิทธิมนุษยชน และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 2) กฎระเบียบมาตรการของสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร เพื่อบังคับใช้กับผู้ประกอบการภายในประเทศ แต่ส่งผลกระทบมายังผู้ผลิตรวมถึงประเทศไทย อาทิ กฎหมาย Deforestation free products ที่สหภาพยุโรปได้เห็นชอบต่อการออกกฎหมาย ครอบคลุมสินค้า 7 ชนิด คือ ยางพารา น้ำมันปาล์ม เนื้อวัว ไม้ กาแฟ โกโก้ และถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ผลิตจากสินค้าเหล่านี้ เช่น ช็อคโกแลต เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ และสินค้าที่มีน้ำมันปาล์มเป็นส่วนประกอบบางชนิด โดยสหภาพยุโรปได้ตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวไม่เกินไตรมาสแรกของปี 2566 กฎหมาย Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ขอบเขตการบังคับใช้ CBAM จากเดิม 5 กลุ่มสินค้า ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย และไฟฟ้า ให้เพิ่มเป็น 7 กลุ่มสินค้า โดยรวมไฮโดรเจนและสินค้าปลายน้ำบางรายการ อาทิ น็อตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (indirect emissions) อาทิ ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า ที่ใช้ในการผลิตสินค้า และจะเริ่มบังคับใช้มาตรการ CBAM ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 และกฎหมาย Corporate Due diligence เป็นกฎหมายเพื่อกำกับดูแลและความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 3) แนวคิดการบริโภคสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรป (Localization) เพื่อลดการขนส่งอันเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและคาร์บอนฟุตปริ้น อาจมีผลกับการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากประเทศที่สามในอนาคต
สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยชาวเชียงใหม่ ลำปาง และสุโขทัย จัดงบฯ กว่า 1.9 ล้านบาท ลงพื้นที่ฟื้นฟูหลังน้ำลด แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค มอบเงินช่วยเหลือกรณีบ้านพังทั้งหลัง และช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิต

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยชาวเชียงใหม่ ลำปาง และสุโขทัย จัดงบฯ กว่า 1.9 ล้านบาท ลงพื้นที่ฟื้นฟ...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ

ข่าวดังรายสัปดาห์ HOT NEWS