ข่าวประชาสัมพันธ์
วันพฤหัสบดีวันที่ 16 พฤศติกายน 2566
ดร.ฐิติ ชัยนาม ที่ปรึกษา มูลนิธิจราจร
เข้าร่วมประชุม การ
ลดปัญหาจราจร
กรุงเทพมหาณครจากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ปัญหาการจราจรติดขัดนั้น ทำให้ชาวกรุงเทพฯ ต้องเสียเวลาเดินทางนานขึ้นเฉลี่ย 35 นาทีต่อรอบการเดินทาง
ซึ่งถ้าหากคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่ผู้คนจะใช้เวลาไปทำงาน หรือทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ จะคิดเป็นมูลค่าประมาณ หนึ่งหมืนหนึ่งพันล้านบาทต่อปี
ซึ่งความสูญเสียนี้ เราเรียกว่า การสูญเสียทางเศรษฐกิจที่หายไป โดยไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ หรือ Unrecoverable Loss เป็นความสูญเสียต่อเศรษฐกิจ ในแง่ประสิทธิภาพของการสร้างผลผลิตของประเทศ
นอกจากนี้ การจราจรที่ติดขัดยังส่งผลให้มีการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น ซึ่งรายจ่ายในด้านต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นนี้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี
การที่ต้องจ่ายค่าเชื้อเพลิงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่รายได้ยังเท่าเดิม ส่งผลให้ผู้คนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับธุรกิจอื่น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ยังไม่รวมปัญหาด้านมลพิษ ที่เกิดขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิง ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญ ของการเกิดฝุ่น PM2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนกรุงเทพฯ และทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพตามมา
นอกจากนี้ปัญหาการจราจร ทำให้ผู้คนมีความรู้สึกอยากออกจากบ้านน้อยลง ส่งผลให้การใช้จ่าย ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ลดลงด้วย
แล้วปัญหานี้ควรแก้ไขอย่างไร ?
3 องค์กรสำคัญรวมใจเป็นหนึ่งร่วมหารือ แนวทาง แก้ใขลดปัญหา จราจรในกรุงเทพมหานคร กับโครงการต้นแบบสุขุมวิท นานา จุดเริ่มต้นใน ก.ท.ม เพื่อประชาชน
1.ท่าน พล.ต.ต ธวัช วงศ์สง่า รักษาการรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และคณะนายตำรวจ งานจราจรจากหลายพื้นที่ในก.ท.ม (สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ)
2.ตัวแทนจากกรุงเทพมหานครสายงานจราจร ตามนโยบายเร่งด่วน ของท่านผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
3.ตัวแทนจากภาคประชาชน
3.1 ท่าน พล.ต.ต นิพนธ์ เจริญผล ประธานผู้ก่อตั้งมูลนิธิจราจร
3.2 ท่าน ภนเอก ฤทธิ์ณประภา ประธานมูลนิธิจราจร
3.3 ดร.ฐิติ ชัยนาม ที่ปรึกษา มูลนิธิจราจร
3.4 คณะที่ปรึกษาทีมงานบริหาร และตัวแทนอาสาจราจร ภาคประชาชนจาก มูลนิธิจราจร
13 พย 66
ณ ห้องประชุมปฏิบัติ การ สน.ลุมพินี อำนวยการประสานงานต้อนรับ การประชุม โดยท่านผู้กำกับ สน.ลุมพินี พ.ต.อ นิมิตร นูโพนทอง และคณะนายตำรวจ สน.ลุมพินี
พล.ต.ต.ธวัช วงศ์สง่า รอง ผบช.น.(น.1-2) กล่าวหลังจากประชุมว่า “การแก้ปัญหาด้านการจราจร กทม.ชั้นใน ได้มีมาตรการวางแผนแก้ปัญหาทั้งช่วงเช้าและเย็น เพราะในส่วนการจราจรช่วงเช้านั้นรถในจากด้าน กทม.ชั้นนอกจะเข้ามาในพื้น การจัดการจราจรส่วนนี้ก็จะวางมาตราการแก้ปัญหาส่วนนี้อย่างดีอยู่แล้ว แต่ด้วยในพื้นที่บางส่วนได้มีการก่อสร้าง ความซับซ้อนของเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นรถเสีย รถชน น้ำท่วมฝนตก ก็จะส่งผลกับจราจรทั้งหมด ซึ่งมันก็เป็นเป็นหาหลักที่ต้องมาหาทางแก้ไข อย่างไรก็ตามในส่วนของการทำงานก็ได้ทำงานอย่างเต็มที่ มีการวางแผน มีการตรวจสอบติดตามการทำงานเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับความสะดวกจากการเดินทาง
ในส่วนของแยกที่มีปัญหาด้านการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนนั้น ก็ต้องยอมรับว่า มันมีความเชื่อมโยงและต้องสร้างเครือข่ายกับพื้นที่อื่นๆ ในการแก้ปัญหารถติดในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งในการประชุมวันนี้ผมก็ได้ไปหารือกับ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลบนถนนที่สุขุมวิท ว่าการเข้าออกของรถช่วงเช้าเย็น เราจะหาทางออกของปัญหานี้ร่วมกันกับพื้นที่ว่ามีจุดไหนที่จะทำให้จราจรมันดีขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นทางที่คนข้ามถนนเยอะๆ ห้างสรรพสินค้า มันก็จะเกี่ยวพันกันหมด แต่ทั้งนี้ก็พยายามจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ดีขึ้นในทุกเส้นทาง”
พล.ต.ต.ธวัช กล่าวอีกว่า”ทั้งนี้ก็ได้มีบูรณาการการแก้ปัญหา รถติดในทุกๆมิติ ไม่ว่าจะเป็นการหารือกับตำรวจทางหลวง หรือในส่วนกทม.เอง อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว พร้อมได้เข้าเยี่ยมชมห้องควบคุมจราจร smart safety zone 4.0 ที่อยู่ใน สน.ลุมพินี ซึ่งเป็นห้องควบคุมสังเกตุการที่มีกล้องกว่า 10,000 ตัว ทั่วกทม.ซึ่งเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ละเลยในส่วนของปัญหารถติดและปัญหาทางด้านการสัญจรอื่นๆตลอดจนอาชญากรรมบนท้องถนน”พล.ต.ต.ธวัช กล่าวทิ้งท้าย
หนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์
สนับสนุนโดย