ข่าวประชาสัมพันธ์
มส.16 ดูงานพฐ.-นิติเวช ด้าน “รองสราวุฒิ” ชี้การเปลี่ยนความเชื่อของคน เป็นอาชญากรรมที่น่ากลัวที่สุด
วันที่ 15 ธันวาคม ที่ห้องประชุมศรียานนท์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.สราวุฒิ การพานิช รอง ผบ.ตร. และคณะผู้บริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้การต้อนรับ พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ ประธานหลักสูตร และประธานมูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง พลเอก ดร.มารุต ปัชโชตะสิงห์ ผู้อำนวยการหลักสูตร มส. พร้อมคณาจารย์ และผู้เข้าอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง ( มส. รุ่นที่ 16) ในการศึกษาดูงานครั้งนี้
โดย พล.ต.อ.สราวุฒิ ได้บรรยายสรุปถึงตอนหนึ่งว่า ปัญหาในปัจจุบัน Cyber Security ด้านความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์ ที่สาวแก่ แม่ม่าย ถูกล่อลวงจากสื่อออนไลน์ จากใครก็ไม่รู้ที่หลงรูป และถูกหลอกลวงเสียเงินไปจำนวนมาก ด้วยวิธีการล่อลวง ส่วนปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาเชิงมหภาค ที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรง และร่วมใจในการช่วยกันสอดส่องกำกับดูแล โดยเฉพาะ ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด
ปัญหาความมั่นคงด้านยาเสพติด
มีการลักลอบลำเลียงยาเสพติดเข้าสู่ประเทศไทย มีวิธีการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะภาคเหนือ ใช้แรงงานคนเดินเท้า หรือรถยนต์ขนพืชผลทางการเกษตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เรือเป็นพาหนะข้ามแม่น้ำโขงลำเลียงออกไปประเทศที่สาม และประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนภาคใต้ ลำเลียงจากแหล่งผลิตอื่น นำมาพักที่ภาคไต้เพื่อส่งต่อไปขายยังต่างประเทศ อาทิ ประเทศออสเตรเลีย ฮ่องกง ไต้หวัน เป็นประเทศที่มีสถิติการส่งออกยาเสพติดออกจากประเทศไทยมากที่สุด
นอกจากยังมีภัยอันตรายจาก Cyber Crime มี 3 ประเภท ประกอบด้วย 1.Computer as Target คอมพิวเตอร์เป็นเป้าหมายในการก่ออาชญากรรม
2.Computer as Too คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม
3.Inappropriate Computer Content ใช้ Content เปลี่ยนความเชื่อของคน ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่น่ากลัวที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากผู้อบรมหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง ( มส. รุ่นที่ 16) ได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับนโยบายการปราบปรามยาเสพติด การครอบครองอาวุธสงคราม การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์แล้ว ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังพาเข้าศึกษาดูงานการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรรม ของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ และสถาบันนิติเวชวิทยาอีกด้วย
//
#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
#บริษัท อากาศสดใส จำกัด
#ผลิตภัณฑ์ "ตะวันฉาย" นวัตกรรมลดค่า PM 2.5
สนับสนุนโดย