วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราชาเฟอรรี่ จับมือ สำนักงานฯ อาชีวศึกษา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระบบทวิภาคี ประจำปี 2567

มีสถาบันในสังกัดอาชีวศึกษา 16 แห่งร่วมลงนามอย่างยิ่งใหญ่
วันที่ 30 มี.ค.67 เวลา 10.00 น. ที่ท่าเรือดอนสัก (เรือเฟอร์รี่ ราชา6) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระบบทวิภาคีประจำปี 2567 ระหว่างบริษัทท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด มหาชน และบริษัทในเครือ กับ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 










โดยมี ดร.วิทวัต ปัญจมะวัต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธาน นายอภิชนม์ ชโยภาส รองกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจ และนายพุทธพงศ์ วิมลพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานอำนวยการ ดร. บัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดร. กุลิสรา สุวรรณ ผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี พร้อมด้วย คณะผู้บริหารสถานศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษา จำนวน 16 แห่ง ร่วมลงนาม  ดร.วิทวัต ปัญจมะวัต รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ระบบการศึกษาแบบทวิภาคี คือ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน ได้มีการฝึกภาคปฏิบัติ  ในสถานประกอบการจริง เป็นความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา และสถานประกอบการ เพื่อผลิตนักศึกษาที่มีความรู้ความชำนาญด้านช่างฝีมือ ช่างเทคนิค และนักเทคโนโลยี เพื่อบูรณาการความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่นอกเหนือจากในตำราหรือห้องเรียน นำไปประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษา ออกไปเป็นช่างฝีมือและช่างเทคนิคเต็มรูปแบบ อย่างมีคุณภาพ และมีคุณลักษณะสำคัญเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป เป็นคนดี คนเก่ง  รวมถึงการเป็นคนที่คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีคุณธรรม จริยธรรม มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพมีคุณลักษณะสำคัญเป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป รวมถึงการเป็นคนที่คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา และประเทศชาติต่อไป
คุณพุทธพงศ์ วิมลพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานอานวยการ กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ลงบันทึกความร่วมมือกับทางสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ และพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์และวิวัฒนาการต่างๆของบริษัทที่มีมายาวนานมากกว่า 40 ปี ในการดาเนินธุรกิจ ให้กับน้องๆ นักศึกษาที่ได้เข้ามาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อผลิตบุคลากรในระดับช่างฝีมือช่างเทคนิค และนักเทคโนโลยี ที่ผ่านมาทางบริษัทก็รับนักเรียนมาฝึกงานอยู่ตลอดเวลานักศึกษาบางคนฝึกจบแล้วก็ได้มาร่วมงานกับบริษัทอีกด้วย
สำหรับสถานศึกษาที่ร่วมลงนาม 16 แห่งประกอบด้วย 1.วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี 2.วิทยาลัยเทคนิคกาญจนดิษฐ์ 3.วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี 4.วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี 5.วิทยาลัยการอาชีพไชยา 6.วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ 7.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี 8.วิทยาลัยการอาชีพเกาะสมุย 9.วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์  10.วิทยาลัยเทคนิคสตูล 12.วิทยาลัยเทคนิคสิชล 13.วิทยาลัยเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช 14.วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต 15.วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ และ 16.โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์)


โพสต์ข่าวแนะนำ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

วันที่ 25 เมษายน 2567 กลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชน และชมรมผู้ผู้สูงอายุโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ร่วมทำบุญถ...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ