วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

พช.ปทุมธานี “ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดปทุมธานี ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕”

    วันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมบัวหลวง ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายเอกวิทย์ มีเพียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดปทุมธานี (ศจพ.จ.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ โดยมีนายพงษ์เทพ รุ่งเรือง พัฒนาการจังหวัดปทุมธานี เลขานุการคณะทำงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดปทุมธานี (ศจพ.จ.) ,นางสาวพัชราภรณ์ สิริวรเวชยางกูล สถิติจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าคณะทำงานติดตามและประเมินผล ,นางธนินท์พรรณ ภววัฒนานุสรณ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี ,นางพรอัปสร นิลจินดา ประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี ,นางวิพร แววศรีผ่อง นายอำเภอสามโคก และคณะทำงานขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดปทุมธานีเข้าร่วมการประชุม 
   ซึ่งมีสาระสำคัญในการประชุมดังนี้
  ๑.) ทบทวนความเป็นมาและแนวทางการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  ๒.) สรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของจังหวัดปทุมธานี มีครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน ๒,๖๐๓ ครัวเรือน ครัวเรือนในระบบ Logbook  จำนวน ๒,๗๑๓ ครัวเรือน ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว ๒,๕๙๕ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๑๕
  ๓.) การบูรณาการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาแก่ครัวเรือนเป้าหมายโดย “เมนูแก้จน” เพื่อให้ครัวเรือน “อยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน” โดย อำเภอสามโคก บูรณาการกับท่านเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ในการเปลี่ยนโถส้วมจากแบบนั่งยอง เป็นแบบชักโครก การจัดซื้ออุปกรณ์ประกอบอาชีพ เช่น เครื่องมือจับปลา อุปกรณ์พ่นสี รถเข็นเมล็ดพันธุ์ผัก มอบแก่ครัวเรือนตกเกณฑ์ด้านรายได้ จำนวน ๔ ครัวเรือน อำเภอลาดหลุมแก้ว ขอความร่วมมือจากบริษัทซีพีออล ซีพีเอฟ มอบถุงยังชีพ แก่ครัวเรือนเป้าหมาย เป็นต้น
  ๔.) การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของจังหวัดปทุมธานี
     - ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายให้เสร็จสิ้นในระดับอำเภอ ภายในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕
     - จำนวนครัวเรือนเป้าหมาย  ให้ยึดจำนวนครัวเรือนในระบบ Logbook คือ ครัวเรือนตกเกณฑ์ MPI ๕ มิติ (๑๗ ตัวชี้วัด) และตกเกณฑ์ มิติอื่น ๆ (๑๕ ตัวชี้วัด) จำนวน ๒,๗๑๓ ครัวเรือน เป็นหลัก
  ๕.) ให้ทุกอำเภอไปดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบในระบบ Logbook การปักหมุดครัวเรือน การบันทึกสภาพบ้าน สภาพปัญหาของครัวเรือน กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือ รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ให้ครบถ้วน สมบูรณ์ เพื่อคณะทำงานระดับจังหวัดจะได้นำมาวิเคราะห์และเป็นข้อมูลให้หน่วยงานเจ้าภาพรายมิติพิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือนในกรณีที่เกินศักยภาพของ คจพ.อ.โดยให้ดำเนินการให้เรียบร้อยภายในวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕
นายวีรวิทย์ กุลมณีทรัพย์หัวหน้าศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์จังหวัดปทุมธานี
สนับสนุนโดย
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

วันที่ 7 ธันวาคม 2566  นพ.พรเทพ แซ่เฮ้ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ร่วมโครงการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและสุขภาพจิ...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ