วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

พช ราชบุรี ถอดบทเรียนโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565  เวลา 09.00 น. ณ  ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีลงพื้นที่ ถอดบทเรียนโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย โดยมีทีมถอดบทเรียนประกอบด้วย นางทศมนพร พุทธจันทรา ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน, นายณัฎฐิพล วงศ์เมธี ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน, นายรังสฤษฎ์ นาคเพ็ชร์ พัฒนาการอำเภอปากท่อ, นายธนิศร ศรีก๊กเจริญ พัฒนาการอำเภอเมืองราชบุรี และนางสาววชิรพรรณ นาคดิลก เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอปากท่อ กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมถิอดบทเรียน (ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ผู้นำนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลงอำเภอนำร่อง) จำนวน 10 คน นำทีมโดย นายสุทธิพงษ์ พุทธจันทรา นายอำเภอปากท่อ และทีมงานอำเภออีก จำนวน 9 คน ได้แก่ 1.พระอธิการมานะ ฐานะธมโม, 2.นางเอื้อง แสงจันทร์,3.นางสาวกาญจนา คงรุ่มรวย, 4.นางสาวขวัญจิตร กล้าหาญ, 5.นายแดง มาลา, 6. นายประดิษฐ์ สิมาจารย์, 7.นายพร บุญเทียม,8.นายรังสฤษฎ์ นาคเพ็ชร์, และ 9.นายสันติ กลิ่นสุคนธ์ ซึ่งมี นางสาวแพรวพรรณ ภูมิวัน นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี ร่วมสังเกตการณ์ และร่วมถอดบทเรียน 2 กิจกรรม ดังนี้
1.กิจกรรมถอดบทเรียน เพื่อวิเคราะห์หาความสำเร็จของโครงการ กระบวนการหรือวิธีการขับเคลื่อนงาน และมีปัจจัยใดบ้างที่นำไปสู่ความสำเร็จ
2.กิจกรรมการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับองค์ประกอบของการดำเนินโครงการ ความสำเร็จของการดำเนินโครงการ และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ ซึ่งมีประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่มในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน รวม 20 ข้อ ประกอบด้วย
 ส่วนที่ 1 ประเด็นคำถามเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการดำเนินโครงการฯ จำนวน 10 ข้อ
 ส่วนที่ 2 ประเด็นคำถามเกี่ยวกับความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ จำนวน 5 ข้อ
 ส่วนที่ 3 ประเด็นการดำเนินงานในพื้นที่ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จำนวน 5 ข้อ
กระทรวงมหาดไทย ได้เฟ้นหานายอำเภอและทีมงานของอำเภอจากทุกจังหวัด ๆ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรม “โครงการอำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข บูรณาการสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย”
โดยการบูรณาการและระดมความคิดเห็นในการประชุมเพื่อเฟ้นหาสุดยอดอำเภอนำร่องฯ โดยมุ่งเน้นโครงการที่แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในระดับพื้นที่ที่มาจากข้อมูล TPMAP หรือ ThaiQM เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาการไม่มีที่อยู่อาศัย การมีส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการต่อยอดการการขยายผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งอำเภอปากท่ออำเภอนำร่อง 1 ใน 18 อำเภอ ของประเทศที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ
วัตถุประสงค์ ของโครงการฯ
 1. เพื่อสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการบูรณาการในระดับพื้นที่
 2. เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานแบบบูรณาการและสร้างเครือข่ายกำลังคนคุณภาพระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นที่
 3. เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมผ่านการลงมือปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่
 4. เพื่อดำเนินการตามแนวทางสืบสานน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน จากการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเป็นแนวทางปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม
 5. เพื่อพัฒนาให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงมหาดไทยได้เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท สามารถสืบสาน ขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รวมถึงเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building) พัฒนาองค์ความรู้และทักษะให้กับบุคลากร ด้านการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด การจัดทำ แผนงาน/โครงการ การประสานแผนพัฒนาพื้นที่ รวมทั้งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ให้กับบุคลากรด้านการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่
 6. เพื่อนำผลการดำเนินงานใช้เป็นกรอบแนวทางในการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (คณะกรรมการ ป.ย.ป.) และโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
 7. เพื่อให้ได้มาซึ่ง “ตัวแบบความเป็นเลิศ” แผนงานยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรนาการ ภายใต้หัวข้อ "การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ขจัดความยากจนและรองรับภัยพิบัติ " ในพื้นที่อำเภอนำร่อง เพื่อเป็นต้นแบบความสำเร็จ สามารถนำไปขยายผลในระยะต่อไป
 การจัดประชุมฯ ครั้งนี้ ได้ถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยเคร่งครัด

สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
สนับสนุนโดย
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตร...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ