วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์


เกษตรกรไทยต้องไปต่อ ! ซินเจนทา นำเสนอ “โกรมอร์” นวัตกรรมที่ตอบทุกโจทย์ในนาข้าว ! ยกระดับผลผลิต คุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย พร้อมถ่ายทอดสู่เกษตรกร
ข้าวไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ถึงแม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะสูญเสียความเป็นเป็นผู้นำในการส่งออกข้าว ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันทั้งการพัฒนาพันธุ์ข้าว การแข่งขันด้านราคา และปัญหาผลผลิตต่ำ ซึ่งที่ผ่านมา “ชาวนาไทย” ต้องต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม ที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงเวลาที่ผ่านมา รวมถึงศัตรูของข้าวทั้งโรคและแมลงที่มีวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากในอดีต การใช้สารเคมีแบบเดิม ๆ จึงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ลงท้ายคือไม่ได้ผลผลิตดังใจ ต้นทุนสูง ทั้งปริมาณ คุณภาพ ไม่ตอบโจทย์
 
เพื่อให้อาชีพของชาวนาไทยมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว “ซินเจนทา” ผู้นำในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จึงได้ทุ่มเท มุ่งมั่น พัฒนาออกแบบโปรแกรมการบริหารจัดการข้าว“โกรมอร์” (GroMore) เพื่อช่วยให้เกษตรกรปลูกข้าวปกป้องแปลงข้าวในแต่ละช่วงเวลาการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม พร้อมจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2565 ณ Syngenta Learning Center (ศูนย์การเรียนรู้ ซินเจนทา) จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเกษตรกรชาวนาในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงสนใจเข้าร่วมงานกว่า 800 คน    
 
นายดำรงศักดิ์ เดี่ยววาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อารักขาพืช กล่าวว่า “เกษตรกรพี่น้องทุกคนทำนากันมานาน และประสบปัญหาในการเพิ่มผลผลิต หรือผลผลิตของข้าวไม่เป็นที่ต้องการ วันนี้ “โกรมอร์” ได้ช่วยตอบโจทย์ และช่วยแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร ซึ่งโกรมอร์ปฏิบัติการข้าวเกินเกวียน เป็นการจัดการข้าวแบบผสมผสาน และการใช้สารให้ถูกช่วงเวลาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ต้องการ ให้ได้คุณภาพของข้าวที่ดี ซึ่งคุณภาพของข้าวเป็นปัจจัยหลัก เป็นความมุ่งมั่นของซินเจนทา และเป็นหัวใจหลักของโกรมอร์ที่ช่วยให้ผลผลิตของข้าวดีขึ้น ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยข้าวเราแบ่งเป็น 4 ระยะ ข้าวเล็ก,ข้าวท้อง,ข้าวแตกกอ,ข้าวระยะเก็บเกี่ยว ดังนั้นการจัดการของโกรมอร์ คือการทำอย่างไรในการใช้สารป้องกันศัตรูพืชให้ถูกช่วง ถูกเวลาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นตามที่เกษตรกรต้องการ”
 
นางสาวสุนิสา จตุพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กล่าวเสริมว่า “เราเอาเกษตรกรเป็นที่ตั้ง เกษตรกรคิดอะไร มีความท้าทายอะไรบ้างตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งมีความท้าทายต่างๆ ตลอดเส้นทางของการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นศัตรูพืช สภาวะอากาศ การจัดการน้ำ ปุ๋ย นั่นก็คือความท้าทายของเกษตรกรชาวนา ดังนั้นทางซินเจนทาได้มีการศึกษาเป็น 10 ปี มีการเปิดตัวในเรื่องหลักการของโกรมอร์ ซึ่งไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่ยังมีประเทศที่ได้มีการปลูกข้าวสำคัญของโลก เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย ซึ่งตอนนี้ก็เป็นคู่แข่งของประเทศไทยในการส่งออก ดังนั้นโกรมอร์จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบวันนี้ว่าจะจัดการสิ่งที่ท้าทายต่างๆอย่างไรให้ความคาดหวังของเราบรรลุสูงสุด ได้ผลผลิตคุ้มค่าที่สุด ซึ่งการศึกษาระยะของข้าวอย่างละเอียดมีความสำคัญมากต่อการใช้สารให้ตรงกับช่วงระยะของข้าวเพื่อ ให้ผลในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพ และปลดปล่อยศักยภาพของพืชเต็มที่ในช่วงระยะเวลาที่เขาต้องการ ซึ่งเราทำการศึกษากันมานานอย่างจริงจัง และเข้มงวด โดยหลักๆคือ 4 ระยะที่สำคัญของเกษตรกรจากแปลงทดลองทั่วเอเซียแปซิฟิก ในหลายๆประเทศจำนวน 1,250 กว่าแปลง และในประเทศไทยเราก็ทำ 100 กว่าแปลง เราสามารถพูดอย่างมั่นใจว่าทุกแปลงทีใช้โปรแกรมโกมอร์ ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็น จากพื้นฐานเดิมที่เกษตรกรทำอยู่ ซึ่งเราพิสูจน์ได้ว่าโกรมอร์ช่วยเพิ่มผลผลิตได้จริง”
 
นางสมเกียรติ มัจฉา เกษตรกรชาวนา กล่าวว่า “รู้จักโกรมอร์มาตั้งแต่ปี 2556 เกือบ 10 ปี มาร่วมงานของโกรมอร์ทุกครั้ง และได้มาช่วยเป็นวิทยากร ได้มาเรียนรู้ของการใช้สาร การปราบศัตรูพืช ชนิดของสาร ปรับวิธีการใช้และสอนลูกหลาน ซึ่งที่ผ่านมาใช้สินค้าทางโปรแกรมโกรมอร์มาโดยตลอด คิดว่าการใช้สารเคมียังมีความจำเป็น เพราะบางช่วงยังมีเรื่องของโรคระบาด ศัตรูพืชไม่เหมือนกัน อย่างหน้าแล้งถ้าเราไม่ใช้ยา พวกหญ้าเล็กๆจะขึ้น เพราะฉะนั้นในการปลูกข้าวมีความจำเป็นที่จะใช้สารเคมีเพื่อที่จะสามารถให้ข้าวเติบโตตามช่วงของมัน ป้องกันโรค ไม่ให้เกิดโรคระบาด ทำให้ผลผลิตดีขึ้นได้ถึงตันกว่าต่อไร่ โกรมอร์เลยมาช่วยเหมือนปฏิทินระยะข้าว ทำให้เรารู้จักการจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น และมีคุณภาพ”
 
โปรแกรมจัดการข้าว “โกรมอร์” ปฎิบัติการข้าวเกินเกวียน ใช้วิธีจัดการข้าวแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะการอารักขาพืชด้วยความแม่นยำ ใช้ในปริมาณที่ถูกต้อง ถูกเวลา และในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ป้องกันปัญหาดื้อสารกำจัดแมลงและโรคพืช ผ่านทางการใช้ผลิตภัณท์ต่าง ๆ ของซินเจนทาอย่างเหมาะสมกับแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน 4 ระยะ ได้แก่ ระยะข้าวเล็ก ระยะแตกกอ ระยะตั้งท้อง และระยะออกรวง
 
“ในระยะข้าวเล็ก” ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นสู่ความสำเร็จ การจัดการตามโปรแกรม “โกรมอร์” ตั้งแต่การเตรียมดิน คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมวัชพืช ช่วยให้ข้าวงอกสม่ำเสมอ รากขาวยาว ใบเขียว และต้นแข็งแรง ส่วน “ในระยะข้าวแตกกอ”การจัดการตามโปรแกรมของโกมอร์จะช่วยการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวด้วยผลิตภัณท์คุณภาพของซินเจนทา ให้ต้นข้าวแข็งแรง ใบเขียวตั้ง แตกกอใหญ่สม่ำเสมอ
 
ส่วน “ระยะตั้งท้อง” ที่เกษตรกรมีความกังวลเรื่องการควบคุมป้องกันแมลงและโรคพืชมากที่สุด โปรแกรมโกรมอร์จึงได้มอบผลิตภัณท์ที่ดีที่สุดในระยะตั้งท้องเพื่อช่วยให้ข้าวท้องกลมใหญ่ เพิ่มรวงยาว ใบธงเขียวตั้ง ต้นแกร่ง ข้าวสมบูรณ์ และพร้อมจะให้ผลผลิตอย่างเต็มที่  
 
เมื่อถึงเวลา “ข้าวออกรวง” ให้ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต การปฏิบัติตามวิธีโกรมอร์ในแต่ละระยะที่ผ่านมาควบคู่ไปกับการจัดการน้ำ การเตรียมดิน และการดูแลธาตุอาหารอย่างถูกต้อง จะช่วยอารักขาให้ต้นข้าวเติบใหญ่ได้คุณภาพที่ดี เมล็ดใส น้ำหนักเพิ่ม เทียบกับผลผลิตที่ปลูกแบบเดิม ๆ ในการทดสอบพบว่า ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์! ที่สำคัญยังเป็นผลผลิตข้าวที่ปลอดภัยไร้สารตกค้าง ตามมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practice) ที่มีความสำคัญกับการส่งออกผลผลิตและการใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการแปรรูปอาหารที่จะต้องไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายเกินค่ามาตรฐาน  
 
และเพื่อส่งต่อความสำเร็จสู่เกษตรกร ทางซินเจนทาจึงได้จัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวด้วยวิธีโกรมอร์ ณ Syngenta Learning Center จังหวัดสุพรรณบุรี ภายในงานมีแปลงสาธิตให้เกษตรกรได้ดูเปรียบเทียบถึงความแตกต่างระหว่างการใช้สารตามวิถีเกษตรกร และวิธีการปฏบัติการของโกรมอร์ ในแต่ละช่วงการเจิญเตบโตของข้าว รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุน พร้อมแสดงให้เห็นผลตอบแทนที่ชาวนาจะได้รับเพิ่มมากขึ้น คุ้มค่าการลงทุนได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและปลอดภัยเพิ่มขึ้น ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากเกษตรกรที่เข้าร่วมงานอย่างดี เป็นการช่วยยืนยันว่าการทำนายุคใหม่ ด้วยนวัตกรรมอารักขาพืชที่ดีของซินเจนทาด้วยโปรแกรมการบริหารจัดการข้าว “โกรมอร์” ชาวนาไทยยังไปต่อได้อย่างแน่นอน และเป็นอาชีพที่มั่นคงน่าภาคภูมิใจสมกับการเปรียบเปรยว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติอย่างที่เคยเป็นมา

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
สนับสนุนโดย
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมจิตอาสา “ปันรัก...ปันสุข...มอบไข่(ต้ม)ใส่ใจสุขภาพ” วันที่ 29 มีนาคม 2567 ...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ