วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

บุรีรัมย์...โรงเรียนภัทรบพิตร MOU ม.ราชภัฎบุรีรัมย์ จัดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ชู ! อนุรักษ์โยนีปีศาจ ไม้ประจำถิ่น และอีก 5 สายพันธุ์หลัก
          ที่จังหวัดบุรีรัมย์ โรงเรียนภัทรบพิตร MOU มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ จัดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ). งบประมาณแผ่นดิน ในปีงบประมาณ 2566 สืบสานพระราชนิธานในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อนุรักษ์ต้นโยนี ไม้ประจำถิ่น และอีก 5 สายพันธุ์หลัก
           ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อนุรักษ์ต้นโยนี ไม้ประจำถิ่น และอีก 5 สายพันธุ์หลัก ได้เปิดเผยโดยนายณัฐพงศ์ รสหอม และนายปัญญา เอิบอิ่ม ครูโรงเรียนภัทรบพิตร ผู้ที่ขับเคลื่อนการเพาะพันธุกรรมไม้ประจำถิ่นพร้อมกับน้องๆนักเรียนโรงเรียนภัทรบพิตร ผ่านรายการคุยเฟื่องเรื่องการศึกษา ที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดบุรีรัมย์ F.M.101.75 Mhz และ A.M.1368 Khz เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา  โดยมี ดร.จัตุพร แปวไธสง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพม.บุรีรัมย์ เป็นผู้ดำเนินรายการหลักและนางสาววิลาสินี นิธิกุล เป็นผู้ดำเนินรายการในครั้งนี้            
       นายณัฐพงศ์ รสหอม กล่าวว่า นายธัชเวชช์ ศานติบูรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนภัทรบพิตร ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมและฟื้นฟูพันธุ์ไม้พื้นถิ่นพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์ไม้พื้นถิ่น รวมทั้งการขยายจำนวน ต้นไม้และพื้นที่ปลูกไม้พื้นถิ่นการนำพันธุ์ไม้พื้นถิ่นไปใช้ประโยชน์เพื่อให้ตระหนักและเห็นคุณค่าที่มีต่อสังคมและเศรษฐกิจของไม้พื้นถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและกรอบแนวทางการดำเนินงาน อพ.สธ.ในระยะ 5 ปีที่ 7(1 ตุลาคม 2564 - 30 ก.ย.2569) โดยยึดพระราชดำริและแนวทางที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสดาฯ สยามบรบราชกมารี พระราชทานไว้เป็นหลัก เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ(อพ.สธ.)
อนุรักษ์ ฟื้นฟู พันธ์ไม้พื้นถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ และสร้างความตระหนัก เห็นคุณค่าที่มีต่อพันธ์ไม้พื้นถิ่นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกับคณาจารย์ นักศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เริ่มดำเนินโครงการเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2565 ขณะนี้ได้เพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่น 6 สายพันธุ์หลัก กว่า 3,000 ต้น ขยายพื้นที่ปลูก จำนวน 18 ตำบล บนเนื้อที่ 10 ไร่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ โดยเฉพาะต้นโยนี หรือ ต้นโยนีปีศาจ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นต้นไม้ประจำถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้นไม้ที่หายาก จึงได้เร่งเพาะขยายพันธุ์ให้มากขึ้น พร้อมกับไม้พื้นถิ่นอื่นๆ เช่น ประดู่แดง พยุง ยางนา เต็ง รัง เป็นต้น 
       นายปัญญา เอิบอิ่ม กล่าวว่า ต้นโยนีปีศาจเป็นไม้หายาก ผลเมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก มองดูคล้ายอวัยวะเพศหญิง จึงเป็นที่มาของชื่อ “โยนีปีศาจ” ซึ่งเป็นนามพระราชทานโดยกรมสมเด็จพระเทพฯ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูงประมาณ 10 – 15 เมตร ผลเป็นรูปไข่กลับ เปลือกแข็ง เมล็ดมีปีก ตามตำนานเรื่องเล่า ท้าวปาจิตโอรสแห่งนครธม กับนางอรพิมหญิงสาวสามัญชน ทั้งสองมีความรักต่อกันแต่มีเหตุให้ต้องพลัดพรากจากกัน ต้องผจญภัยในป่าเป็นเวลานานกว่า 7 ปี ในระหว่างนั้นนางอรพิมเกรงว่าจะเกิดอันตรายกับตัวเอง จึงอธิษฐานจิตขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แปลงร่างให้เธอเป็นชาย โดยขอให้บางส่วนที่เป็นหญิงหลุดหายไปจากร่าง จากนั้นนางจึงนำโยนีหรืออวัยวะเพศหญิงไปฝากไว้ที่ต้นโยนีปีศาจ เมื่อรอดชีวิตจึงได้นำอวัยวะเพศจากต้นโยนีปีศาจกลับมาใส่ร่าง กลายเป็นหญิงและครองรักกับท้าวปาจิตดังเดิม
       สำหรับท่านที่สนใจ พันธุ์ต้นโยนีปีศาจ และต้นไม้พื้นถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถติดต่อจองรับต้นกล้าพันธุ์ได้ที่ โรงเรียนภัทรบพิตร อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 
     สนใจติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook fanpage สวท.บุรีรัมย์ กรมประชาสัมพันธ์ รายการคุยเฟื่องเรื่องการศึกษา
////
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
ชาติ มหาชน ศูนย์ข่าวทีวีประชาชนออนไลน์/รายงาน
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
สนับสนุนโดย
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

พล.ต.ท.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผบช.ภ.1 เข้าอวยพรเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ แด่ ดร.นฤมล สุรเศรษฐ ประธานกรรมการ L.S.Jewelry Group

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ พล.ต.ท.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผบช.ภ.1 เข้าอวยพรเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ แด่ ดร.นฤมล สุรเศรษฐ ประธานกรรมการ L.S.Jew...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ