วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

ข่าวภูมิภาค
กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลายจัดกิจกรรมงานบุญสืบชะตาน้ำซับ 
มุกดาหาร/
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566  เวลา 06.00 น. -19.00น.  ณ แหล่งน้ำซับคำป่าหลาย บ้านแก้ง-โนนคำ  ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร  นักปกป้องสิทธิมนุษยชน  กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลายได้จัดงานบุญสืบชะตาน้ำซับคำป่าหลายครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อทวงคืนที่ดินทำกินคืนถิ่นแผ่นดินราษฎร บทเรียนการต่อสู้ที่ทรงคุณค่าคำป่าหลาย  โดยในช่วงเช้าได้มีพิธีทำบุญตักบาตร และมีการจัดนิทรรศการเล่าเรื่องขบวนการเคลื่อนไหว ต่อสู้ของกลุ่มฯ  โดยตัวแทนกลุ่มได้ร่วมกันบอกเล่าความหวังและเป้าหมายในการต่อสู้ ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย ทวงคืนที่ดินทำกินคืนถิ่นแผ่นดินราษฎรบทเรียนการต่อสู้ โดยมีตัวแทนกลุ่มขึ้นมาบอกเล่าไทม์ไลน์ของการต่อสู้ของกลุ่มและความหวังความฝันรวมถึงเป้าหมายที่จะต่อสู้ต่อไป
     งาม  ทองมงคล ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย ได้ถ่ายทอดความรู้สึกบางช่วงบางตอนว่า หลังมีการรัฐประหาร คสช. ได้มีนโยบายทวงคืนผืนป่า ทำให้งามและชาวบ้านในตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ถูกแย่งยึดที่ดิน และในขณะเดียวกันเหมืองแร่หินทรายเพื่อการอุตสาหกรรมได้เข้ามาขอสัมปทานทำเหมืองในพื้นที่ป่าสงวน จึงทำให้พวกเรารวมตัวกันลุกขึ้นสู้ในนาม “กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย” และเราได้ต่อสู้หลากหลายวิธี ทั้งเดินขบวน ยื่นหนังสือถึงหน่วยงานต่าง ๆ จนท้ายที่สุดเราก็ได้ที่ดินกลับคืนมาแต่ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ใด ๆ ต่อมาได้มีการตรวจสอบหลักเกณฑ์การขอสัมปทานเหมืองแร่ ขัดต่อ พรบ.แร่ พ.ศ.2560 การทำเหมืองแร่จึงชะลอไป สิ่งที่อยากบอกทุกคนในวันนี้คือ เราต้องสู้กันต่อไป ท้อได้แต่ไม่อยากให้ทุกคนถอย

     ขณะที่ พิมวิภา คำมุงคุณ ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย เล่าต่อว่า หลังจากที่ชนะยกแรกจากการยุติการเข้ามาของเหมือง เราได้มีการเดินสำรวจหมุดที่ดินที่ถูกแย่งยึด พบพื้นที่ดังกล่าวไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่แย่งยึด  แต่ต่อมาวันที่ 7 ตุลาคม 2565 กลับมีโครงการกังหันลมเข้ามาขออนุญาตดำเนินการในพื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่ทำกินของเรา ทางกลุ่มฯจึงได้ยื่นหนังสือคัดค้านอีกครั้ง ท้ายที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและโครงการจึงได้มีการหยุดและชะลอโครงการไป " จนถึงปัจจุบันเราก็จะสู้ต่อไปเพื่อให้ได้ทรัพยากรของเราคืนมา"  

     ด้านนันธิฌา เชื้อคำจันทร์ ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย บอกเล่าความรู้สึกเช่นกันว่า ถึงแม้การแย่งยึดที่ดินทำของรัฐจะทำให้เราเกิดความเครียดเนื่องจากไม่มีพื้นที่ทำกิน และทำให้ครอบครัวเราเจ็บปวดเราก็จะสู้ต่อไป เพราะที่ดินคือชีวิต คือทุกอย่าง เพราะฉะนั้นเราจะทวงคืนกลับมา 

      ภาวิณี เชื้อวังคำ ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย ที่เชื่อว่าการรวมกลุ่มเพื่อแสดงพลังในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด การรวมกลุ่มทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวรู้สึกอบอุ่นเหมือนครอบครัว  และจะเป็นพลังที่เข้มแข็งที่สามารถเรียกร้องหรือต่อสู้กับรัฐและบรรลุเป้าหมายของเราได้ 

      พิมวิภา คำมุงคุณ ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเรา เราไม่เคยรับรู้รับทราบถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้าเลย เหมือนกับเขาเอามือปิดหูปิดตาเราไว้ไม่ให้รับรู้อะไรในการที่เขามาแย่งยึดที่ดินทำกินไปจากเรา มันเหมือนกับเขาตัดดินตัดมือเราไม่ให้เราทำมาหากิน คิดว่าเราโง่เป็นควายหรือ แต่ถึงแม้เขาจะทำอย่างไรกับเรา เราก็จะลุกขึ้นมาต่อสู้ "ไม่มีศัตรูเราก็ไม่ได้สู้ สู้ต่อไปจนกว่าจะถึงเส้นชัยที่เราหวัง" 

     สมจิตร เติมกล้า ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย กล่าวว่า เราสูญเสียทุกอย่างหลังจากถูกแย่งยึดไป ครอบครัวแตกสลายอยู่อย่างอดอยาก เพื่อให้ได้ที่ดินกลับคืนมาแม้จะมีคนไม่เห็นด้วย หรือพูดจาบั่นทอนเราก็ตามแต่เราก็สู้และนำมาเป็นพลังในการต่อสู้ เพราะ "ศัตรูคือยาชูกำลัง"  
     สมัย พันธะโคตร กล่าวว่า การที่เขาเข้ามาจะเข้ามาเอาทุกอย่าง หลังจากที่ต่อสู้สิ่งที่เราทวงคืนกลับมาได้คือ ที่ดิน แม่น้ำ เราได้ครอบครัว ได้รายได้ ทรัพยากร และความสุขกลับคืนมา 

การทวงคืนที่ดินทำกินคืนถิ่นแผ่นดินราษฎร  บทเรียนการต่อสู้ที่ทรงคุณค่าจากคำป่าหลาย  จากกิจกรรมงานบุญสืบชะตาน้ำซับคำป่าหลายครั้งที่4

ไกรสมุทร นามโพธิ์ไทร/รายงานจากมุกดาหาร
0810501177
สนับสนุนโดย
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

17 กรกฎาคม 2567  โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการวิจัยแก่บุคลากร ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 17 - 19 กรกฎาค...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ