วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567

วช. จับมือ รร.กฎหมายและการเมือง ขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาคปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ด้วยกลไกการจัดการต่อต้านการติดสินบน: กรณีการขอใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารของเทศบาลนคร

วันที่ 27 มีนาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการประชุมแผนงานวิจัย เรื่อง “การขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาคปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกลไกการจัดการต่อต้านการติดสินบน: กรณีการขอใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารของเทศบาลนคร” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ซึ่งมี รศ.ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์  คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต / ผู้บริหารจัดการแผนงาน กล่าววัตถุประสงค์การจัดทำแผนงานวิจัย อีกทั้งมีการเปิดตัวแอปพลิเคชันแพลตฟอร์ม ACM Line LIFF และคู่มือแนวทางการจัดการต่อต้านการติดสินบน: กรณีการขอใบอนุญาตก่อสร้าง เสวนาวิชาการในหัวข้อ ธรรมาภิบาลภาคปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ธรรมาภิบาลกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี: กรณีเทศบาลนคร” จากศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากูล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ณ โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น







นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 กล่าวว่า วช. เป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลก โดยมีพันธกิจหลักประการหนึ่ง ในการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ด้วยยุทธศาสตร์ที่ต้องการจะยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน สำหรับการประชุมการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของแผนงานการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาคปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกลไกการจัดการต่อต้านการติดสินบน: กรณีการขอใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารของเทศบาลนครถือเป็นงานวิจัยที่จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนเพื่อยกระดับค่า CPI โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการจัดการต่อต้านการติดสินบนและการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคต

ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์  คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต / ผู้บริหารจัดการแผนงาน ได้กล่าวถึงความสำคัญในการเผยแพร่การดำเนินงานผลงานวิจัย เนื่องจากผลการสำรวจและค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (WEF) ในปี 2564 ได้ 42 คะแนน ปี 2565 ได้ 45 คะแนน และในปี 2566 ได้ 36 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) ซึ่งผลการสำรวจขององค์กรความโปร่งใสนานาชาติ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน ในการก่อสร้างอาคารนับเป็นส่วนหนึ่งที่อาจทำให้ค่า CPI ใน WEF มีแนวโน้มสูงขึ้น หากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกระบวนงานและการเปิดเผยข้อมูล แบบโปร่งใสตรวจสอบได้ การจัดทำแผนงานดังกล่าวจึงริเริ่มขึ้น แผนงานวิจัยเรื่อง การขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาคปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกลไกการจัดการต่อต้านการติดสินบน: กรณีการขอใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารของเทศบาลนคร แบ่งออกเป็น โครงการย่อย 3 โครงการ ดังนี้
1. การศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลด้วยระบบและกลไกการจัดการต่อต้านการติดสินบนของเทศบาลนคร
2. แนวทางในการยกระดับค่าดัชนีการรับรู้การติดสินบนและการเปิดเผยข้อมูลของเทศบาลนคร
3. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดการต่อต้านการติดสินบนของเทศบาลนคร เพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลและสอดส่องการคอร์รัปชัน เพื่อสร้างความโปร่งใสเกิดการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคต
.
ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากูล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ธรรมาภิบาลกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี: กรณีเทศบาลนคร” จะเห็นได้ว่า ธรรมาภิบาล ในภาคราชการเรียกว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ถือเป็นหลักของการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับประชาชนเพื่อมุ่งให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี ธรรมาภิบาลกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประกอบด้วย 10 หลักคือ  หลักการตอบสนอง หลักประสิทธิผล หลักประสิทธิภาพ หลักความเสมอภาค หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักการตรวจสอบได้ หลักโปร่งใส หลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วม และหลักนิติธรรม เพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองความสงบเรียบร้อยของสังคม ความผาสุก ประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ
.
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า งานวิจัยเรื่อง การขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาคปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกลไกการจัดการต่อต้านการติดสินบน: กรณีการขอใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารของเทศบาลนคร จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน

เจนกิจ นัดไธสง รายงาน

โพสต์ข่าวแนะนำ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน “ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” มอบห้องผ่าตัดปลอดเชื้อ มาตรฐาน ISO7 มูลค่ากว่า 4.1 ล้านบาท แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม มอบโอกาสการรักษา ช่วยเหลือชาวนครพนมอย่างยั่งยืน

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน “ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” มอบห้องผ่าตัดปลอดเชื้อ มาตรฐาน ISO7 มูลค่าก...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ

ข่าวดังรายสัปดาห์ HOT NEWS