วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566

วัดหัวกระบือ เปิดพิธีกรรม "หุงสีผึ้ง" เสริม เมตตามหานิยม ตามฉบับ โบราณ พร้อมทั้งพุทธาภิเษก นางกวักอุดมทรัพย์และเบี้ยแก้

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ วัดหัวกระบือ เปิดพิธีกรรม 
"หุงสีผึ้ง" เสริม เมตตามหานิยม ตามฉบับ โบราณ พร้อมทั้งพุทธาภิเษก นางกวักอุดมทรัพย์และเบี้ยแก้


วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2566
เวลา19.29น. 









พระครูวิบูลพัฒนกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดหัวกระบือ 
เปิดพิธีกรรม 
"หุงสีผึ้ง" เสริม เมตตามหานิยม ตามฉบับ โบราณ พร้อมทั้ง
พุทธาภิเษก นางกวักอุดมทรัพย์
และเบี้ยแก้
โดยมีอาจารย์ฆราวาส
อาทิเช่น อาจารย์เขียว เทพทอง ร่วมเป็นเจ้าพิธีกรรม และอาจารย์ฆราวาส อีกหลายท่าน 








ทำความรู้จัก พิธีกรรมขั้นตอนการหุง "สีผึ้ง" แบบสมัยโบราณ ต้องใช้หินจากภูเขา 3 ยอด มาตั้งเส้า ก่อกองไฟ เคล็ดอยู่เหนือผู้คน
เครื่องราง ทางเมตตามหานิยม เสน่หา ดูจะเป็นสิ่งที่หลายคน ต่างต้องการมีไว้ครอบครอง เพื่อให้เป็นที่รักของคนทั่วไป 
หนึ่งในเครื่องราง ที่คนนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง นั้น หลายคนนึกถึง สีผึ้ง ด้วยวิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก ใช้เพียงทาปาก ประกอบการเจรจา ก็เป็นเสน่ห์กับผู้คน แต่ทั้งนี้ หลายคนอาจจะไม่รู้ถึงขั้นตอน ในการปรุง การเสก มีวิธีการอย่างไร ลำดับขั้นตอนการหุง สีผึ้ง ตามแบบฉบับที่มีมาแต่โบราณในการหุงสีผึ้งนั้น   คนโบราณเสาะหาเอารังผึ้งมาเคี่ยวคัดเอาสิ่งสกปรกออก แล้วจึงผสมด้วยน้ำมันมะพร้าว น้ำมันหอมต่างๆ สีผึ้งในทางอาคมนั้น มีการสร้างหลายสูตร  แต่อานุภาพที่ตรงกัน คือ อานุภาพในด้านการเจรจาแล้วเป็นมหาเสน่ห์ เมตตามหานิยม ในบางครั้งนำไปเจรจาทำให้คนหายโกรธได้

1.รังผึ้งร้าง  เป็นรังผึ้งที่ฝูงผึ้งทิ้งรังแล้ว  ซึ่งรังผึ้งร้างนี้ โดยมากจะนิยมผึ้งหลวง  ซึ่งการนำเอารังผึ้งร้างมาใช้ เพื่อความปลอดภัยส่วนหนี่ง และอีกส่วน ถือว่า เป็นการไม่เบียดเบียนสัตว์ เพราะนำเอาสิ่งที่ผึ้งทิ้งไว้ มาทำของดี

2.ก้อนเส้า  โดยมากจะนิยมใช้ก้อนหินขนาดใหญ่จากธรรมชาติ มาทำเป็นก้อนเส้า ถ้าให้ต้องตามตำราต้องใช้หินจาก 3 ยอดเขา มาทำเป็นก้อนเส้า คติเอาเคล็ด ว่าสีผึ้งนี้ อยู่เหนือเขา ( ผู้คนทั้งหลาย ) แล้ว แต่ก็มีการทำสีผึ้งบางประเภท  ที่ใช้กะโหลกของศพที่ตายผิดธรรมชาติ มาทำเป็นก้อนเส้ากวนสีผึ้ง  ซึ่งวิธีหลังนี้ ถ้าคนกวนไม่มีคาถาแน่จริง อย่าทำโดยเด็ดขาด

3.ภาชนะที่ใช้กวนสีผึ้ง    จะใช้ “ ขันสัมฤทธิ์ ”หรือกะทะทองเหลือง ในการหุง  

4. ฟืนที่ใช้ในการหุงสีผึ้ง  จะเป็นฟืนที่มาจากไม้มงคลทางด้านเมตตา เช่น ไม้รัก ไม้มะยม ไม้กาหลง ไม้ขนุน ไม้มะรุม ไม้คูณ ไม้สวาท ไม้พยุง เป็นต้น โดยการใส่ฟืนนั้น จะต้องมีการภาวนาคาถากำกับ 

5.ไม้พายกวนสีผึ้ง  จะใช้ไม้มงคลทางด้านเมตตา หรือทำเป็นไม้พาย เช่น กาฝากมงคล 9 อย่าง 

6.สถานที่ในการหุง  จะต้องเป็นสถานที่ ที่สงัด ไม่ใช้ที่ผู้คนพลุกพล่าน เช่น ป่าช้า  ป่าเขา วัด เป็นต้น 

7.สิ่งที่ผสมร่วมไปในสีผึ้ง  โดยมาก  จะเป็นว่านทางเมตตา ว่านทางเสน่ห์ น้ำหอมดอกไม้กลิ่นต่างๆ รวมถึง น้ำมันจากต้นจันทน์ น้ำมันจากต้นกฤษณา หรือ น้ำมันมะพร้าว  ที่นำมาผสมให้บังเกิดเสน่ห์ และมีกลิ่นหอม
ฤกษ์ยามที่ใช้ในการกวนสีผึ้ง  โดยมากจะนิยมฤกษ์ที่เกี่ยวกับทางเสน่ห์ เมตตา หรือ ค้าขาย เช่น มหัทธโนฤกษ์  เทวีฤกษ์ เป็นต้น และวันที่ใช้กวนสีผึ้ง มักจะนิยมวันอ่อน   คือวันที่มีคุณทางเสน่ห์   เช่น วันจันทร์ วันพฤหัสบดี หรือวันศุกร์ เป็นต้น  
 สำหรับวิธีการใช้สีผึ้ง  โดยปกติแล้ว จะใช้ปลายนิ้วชี้จิ้มไปในตลับ แล้วขยี้กับหัวแม่มือ จากนั้นจึงลูบจากขอบศูนย์ปากด้านบน ลงมายังขอบศูนย์ปากด้านล่าง  ก็มีวิธีการใช้ด้วยปลายนิ้วมือต่างๆ ได้แก่





1.ปลายนิ้วโป้ง ใช้สีปากเมื่อเข้าหาครูบาอาจารย์ ผู้ที่น่าเคารพนับถือ

2.ปลายนิ้วชี้  ใช้สีปากเมื่อเข้าหาเจ้านาย

3.ปลายนิ้วกลาง ใช้สีปากเมื่อเข้าหาคนวัยเดียวกัน

4.ปลายนิ้วนาง  ใช้สีปากเมื่อเข้าหาญาติ  

5.ปลายนิ้วก้อย ใช้สีปากเมื่อเข้าหาคนที่อ่อนวัยกว่า

นสพ.ทันใจนิวส์/เอกชัย/รายงาน0894981477

โพสต์ข่าวแนะนำ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

วันที่ 25 เมษายน 2567 กลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชน และชมรมผู้ผู้สูงอายุโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ร่วมทำบุญถ...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ