วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์อินไซด์ทีวี

"บิ๊กใหม่" รองผบช.ขึ้นเหนือ เปิดที่ทำการ (ชั่วคราว) บก.สอท. 4 เชียงใหม่ รับผิดชอบ 17 จังหวัดในภาคกลางตอนบนและภาคเหนือ  

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 09.30 น. พลตำรวจเอกสุชาติ ธีระสวัสดิ์ รองผบ.ตร. พร้อมด้วย พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  ได้เดินทางมาเพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดเปิดที่ทำการ (ชั่วคราว) กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 4  ณ ที่ตั้ง อาคารเลขที่ 399/61 หมู่ 12 ต.ป่าแดด อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วย พลตำรวจตรี ภาณุมาศ บุญญลักษม์  รองผู้บัญชาการฯ พลตำรวจตรี ชูฉัตร ธารีฉัตร รองผู้บัญชาการฯ และ พลตำรวจตรี มณเฑียร พันธ์อิ่ม รองผู้บัญชาการฯ โดยมี พลตำรวจตรี ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 4 เป็นผู้กล่าวรายงาน

การเปิดที่ทำการฯ ในครั้งนี้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของ กองบัญชาการที่ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีว่า “เป็นองค์กรสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมไซเบอร์อย่างมืออาชีพที่ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา” โดยกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 4 มีพื้นที่รับผิดชอบ 17 จังหวัดในภาคกลางตอนบนและภาคเหนือ 

การเปิดที่ทำการในครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการและให้ความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบในการให้บริการประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อหรือผู้เสียหายจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนจะหน่วยงานให้ความรู้ให้กับประชาชนและส่วนราชการอื่นๆ เกี่ยวกับแนวโน้ม หรือ สถานการณ์ที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์ที่นับวันได้เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) มีหน้าที่และอำนาจ เป็นฝ่ายอำนวยการด้านยุทธศาสตร์ วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ ฝ, ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทั่วราชอาณาจักร, ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่อง, ดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือพิเศษ สนับสนุนส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นในการสืบสวนสอบสวน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการสืบสวนสอบสวน  ให้มีความรู้ ความสามารถในการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี, ดำเนินการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี, ดำเนินการเกี่ยวกับการพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล การตรวจสถานที่เกิดเหตุและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวนของหน่วยงานต่าง ๆ, ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันและปราบปราม และงานสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 


บช.สอท. มีโครงสร้างหลักออกเป็น 7กองบังคับการ คือ 1.กองบังคับการอำนวยการ 2-6.กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1-5 และ 7.กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี   โดยมุ่งเน้นการดำเนินการตาม “นโยบาย 5 ดี” ภักดี หมายถึง การทำงานด้วยความจงรักภักดีและเทิดทูนปกป้องสถาบันหลักของชาติ, เก่งดี หมายถึง การทำงานทุกต้านและทุกภารกิจต้องใช้ความรู้ ความสามารถและทักษะ, เร็วดี หมายถึง การทำงานด้วยความรวดเร็วว่องไวตอบสนองภาครัฐและประชาชน, สนุกดี หมายถึง การทำงานด้วยความสุขมีความสามัคคีและมีคุณภาพชีวิตในการทำงาน, ทำดี หมายถึง การทำงานด้วยความชื่อสัตย์สุจริตยืดถือผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง

พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สอท.4 เชียงใหม่ ได้เริ่มเปิดให้บริการประชาชนมาตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.64 โดยเริ่มให้ พงส. มาเข้าเวร คอยรับแจ้งเหตุหรือให้คำปรึกษาประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ยุคปัจจุบัน  โดยจะคอยเดินคู่ขนานกับสถานีตำรวจในการสนับสนุนข้อมูลทางการสืบสวนสอบสวนหรือวิเคราะห์สืบค้นให้รู้ตัวคนร้าย  เพราะส่วนใหญ่ที่เกิดในโลกออนไลน์  มักจะไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด มีอำนาจตามกฎหมายในการสืบสวนและสอบสวนแล้ว โดย ผบ.ตร. ได้ลงนาม คำสั่ง ตร.ที่ 287/2564 ลง 18 มิ.ย.64 เรื่อง การรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ และการสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย บช.สอท. จะรับผิดชอบคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญ ๆ ซึ่งจะมีการประสานงานกับ สถานีตำรวจท้องที่ เกี่ยวกับคดีประเภทไหนอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด

 ซึ่งตามหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติที่ ตร.กำหนด ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของ สอท.คือต้องเป็นคดีที่มีความซับซ้อนหรือมีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญ อาทิเช่น คดีที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ 10 ล้านขึ้นไปและ มีผู้เสียหายตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป หรือ คดีที่มีมูลค่าความเสียหาย 30 ล้านขึ้นไป  หรือมีผู้เสียหาย 50 คนขึ้นไป รวมทั้งการกระทำความผิดเป็นรูปขบวนการหรือกลุ่มบุคคล หรือมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น  ส่วนคดีทั่วๆ ไปนั้น ทางสถานีตำรวจท้องที่ยังคงต้องดำเนินการให้บริการประชาชนต่อไป  แต่ทาง สอท. ก็สามารถช่วยเหลือสนับสนุนข้อมูลที่ต้องสืบค้นทางเทคโนโลยีให้ได้ เช่น การกระทำความผิดเกี่ยวกับปลอมเฟซบุ๊ค,ไอจี , ปลอมแอพพลิเคชั่นไลน์  ซึ่งทาง สอท. ก็จะช่วยหน่วยงานที่ประสานมาเพื่อสืบค้น พิสูจน์ทราบตัวร้าย   ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบมากที่สุดตอนนี้คือ ฉ้อโกงซื้อของทางออนไลน์ แล้วก็เป็นความผิดประเภทอื่นๆ เช่น หลอกให้กู้เงินทางออนไลน์ , โรแมนสแกม ,  หมิ่นประมาททางเฟซบุ๊ค,ไอจี หรือทางไลน์ , หลอกกู้เงินทางออนไลน์ , เผยแพร่ภาพลามกทางสื่อโซเชียล เป็นต้น

บก.สอท.4 มีเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง หรือเขตรับผิดชอบพื้นที่  ตำรวจภูธรภาค 5 และ 6 เป็นหลัก บก.สทอ.4 และอำนาจหน้าที่ ในการรับคำร้องทุกข์หรือรับคดีใดบ้าง ที่อยู่ความรับผิดชอบของ สอท.  ตามคำสั่ง ตร.ล่าสุด ก็จะเป็นคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญ มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ คดีที่มีการกระทำผิดเป็นรูปขบวนการหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการสืบสวน สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน, คดีเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป และมีจำนวนผู้เสียหาย รวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้น, ไปคดีเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป หรือมีจำนวนผู้เสียหาย รวมกันตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป, คดีที่มีลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ คดีที่ส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ, คดีที่ส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะ การบริการสาธารณะ หรือ ระบบสาธารณูปโภคสาธารณะ, คดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย  ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 1 (ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร) และลักษณะ 1/1 (ก่อการร้าย) ซึ่งมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน                 
ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ โดยหลักแล้วจะเป็นความผิดต้องเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฯ , กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  ยังรวมถึงบางฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย เช่น ฉ้อโกง , หมิ่นประมาท หรือการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก  และยังมี พ.ร.บ.อื่นๆ อีกที่ความผิดมีโทษทางอาญา 
พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เปิดเผยอีกว่าหน่วยงาน สอท.ได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญๆ   ในโลกสื่อสังคมออนไลน์ ในปัจจุบันมีอาชญากรรมทางออนไลน์ค่อนข้างเยอะมาก และ สอท. เป็นหน่วยงานที่มาช่วยสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงาน สอท.มีผลการจับกุมความผิดประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางออนไลน์ เช่นหลอกขายของออนไลน์  ขายอาวุธปืนออนไลน์ เผยแพร่สื่อลามก  การพนันออนไลน์  ฯลฯ  มาโดยตลอด ซึ่งก็มีการประชาสัมพันธ์กับประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการขอความช่วยเหลือกับทางตำรวจ สอท. และศูนย์ 5c และ Call center 1441 เป็นนโยบายของ ผบช.สอท. ที่ต้องการตั้งศูนย์บริการประชาชนในการบังคับใช้กฎหมาย ป้องกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแบบครบวงจร ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์ 5C ซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลตำรวจไซเบอร์ และ call center 1441 ที่ให้คำปรึกษาและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี นอกจากนี้จะได้จัดทำช่องทางรับแจ้งเหตุและให้ความรู้ประชาชนอีกหลายช่องทาง เช่น การแจ้งความออนไลน์ แชทบอท facebook ของ สอท. ซึ่งจะทำให้การบริการประชาชนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนตามคำขวัญมุ่งมั่นของหน่วยงาน "CYBER COP ANTI CYBER CRIMES" โดยช่องทางในการติดต่อสอบถามสามารถโทรสอบถามได้ที่ 052-010375-6 https://www.facebook.com/CyberCCID4.
สนับสนุนโดย
รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

17 กรกฎาคม 2567  โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการวิจัยแก่บุคลากร ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 17 - 19 กรกฎาค...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ