วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

ข่าวประชาสัมพันธ์
ทรู คอร์ปอเรชั่นชู ‘CTPaP’ ขับเคลื่อนองค์รวม 5 ด้านพร้อมกันหนุนไทยสู่ผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัล
• พร้อมหนุนรัฐยกระดับความสามารถดิจิทัลของธุรกิจไทยสู่ผู้ผลิตไม่ใช่แค่ผู้บริโภค
• นำไทยคว้าโอกาสเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
กรุงเทพฯ, 4 ตุลาคม 2566 - ทรู คอร์ปอเรชั่น นำศักยภาพบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย พร้อมร่วมขับเคลื่อนไทยสู่โอกาสดิจิทัลบนเวทีโลก พร้อมชูทรานสฟอร์มดิจิทัลให้สำเร็จต้องลุยแผน ‘CTPaP’ - 5 ปัจจัยขับเคลื่อนพร้อมกันทั้ง Connectivity -การเชื่อมต่อ, Technology -เทคโนโลยี, P – Platform as a Service -บริการแพลตฟอร์มบนคลาวด์, Analytics & Artificial Intelligence – การวิเคราะห์และปัญญาประดิษฐ์ และ People – คน  เสริมแกร่งไทยสู่ผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค SEA และปูทางไทยรับโอกาสเศรษฐกิจดิจิทัลโลกมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ
วิสัยทัศน์ดิจิทัลและอุปสรรคที่ยังเป็นความท้าทาย
ประเทศไทยมีพื้นฐานโครงสร้างดิจิทัลที่แข็งแกร่งและมีอัตราการใช้งานดิจิทัล (Digital Adoption Rate) ที่สูง และมีโอกาสสร้างการเติบโตจากเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จากการคาดการณ์พบว่าในปี 2573 มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสเติบโตสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากภูมิภาค SEA สามารถสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ (ข้อมูลจาก Bain & Company) ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของ SEA เป็นรองแค่อินโดนีเซีย สัดส่วนดิจิทัลต่อ GDP ไทยนั้นอยู่ประมาณ 12% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง (เศรษฐกิจดิจิทัลคิดเป็น 15% ของ GDP โลก) อนึ่งรัฐบาลไทยตั้งเป้าให้เศรษฐกิจดิจิทัลสร้าง 30% ของ GDP ในปี 2570 อย่างไรก็ดี ยังมีความท้าทายบางประการที่ประเทศไทยต้องรับมือ ในการคว้าโอกาสสูงสุดจากการขยายตัวเศรษฐกิจดิจิทัล
นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ที่ผ่านมา แม้ประเทศไทยจะมีอัตราการใช้งานดิจิทัลที่สูง เรามีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดี และสัดส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP ในระดับที่น่าพึงพอใจ แต่การจะสร้างโอกาสอย่างยั่งยืนจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่อาจเติบโตสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ประเทศไทยต้องเร่งยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่างๆ และบุคลากร เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีเป็นผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิตในเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้รายได้หลักในระบบนิเวศดิจิทัลไหลไปสู่มือผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศ นำไปสู่ ‘การขาดดุลทางดิจิทัล’ กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศไทย”
 
 
เศรษฐกิจของประเทศไทยในยุคหลังโควิด-19
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในยุคหลังโควิด-19 พบว่ามีความท้าทายต่ออัตราการเติบโตของ GDP ของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาให้เติบโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านเช่น มาเลเซีย, เวียดนาม หรือฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอัตราการเติบโตหลังโควิด-19 สูงกว่า ทั้งหมดนี้ยืนยันความจำเป็นในการทรานสฟอร์มให้ไทยเร่งก้าวสู่ดิจิทัลทั้งอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการธุรกิจ และประชาชนทั่วไป
นาย มนัสส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตอนนี้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital transformation) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย กล่าวคือ เป็น ‘a must’ ที่ต้องทำทันที ไม่ใช่ ‘a choice’ หรือทางเลือกอีกต่อไป ซึ่งการจะเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทย และประเทศไทยสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบให้สำเร็จนั้น ต้องอาศัยความพร้อมของ ‘building block’ ทำ 5 สิ่งนี้พร้อมกัน ได้แก่ Connectivity, Technology, Platform as a Service , Analytics & Artificial Intelligence และ People (โมเดล CTPaP) ซึ่งทรู คอร์ปอเรชั่นพร้อมจะเป็นผู้นำในการผลักดันทุกบริบทของไทยและร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อทำให้ประเทศไทยสามารถสร้างโอกาสสูงสุดจากเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับโลก"

ทรูคอร์ปอเรชั่นชู ‘CTPaP’ องค์รวม 5 ปัจจัยทรานฟอร์มประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

C – Connectivity (การเชื่อมต่อ): บริการการเชื่อมต่อนั้นเป็นตัวกลาง (enabler) สำคัญในการเข้าถึงบริการดิจิทัลและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งการจะเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลนั้น การมีบริการการเชื่อมต่อที่มีคุณภาพ มีความสเถียรแม่นยำ และประชากรสามารถเข้าถึงได้ นั้นเป็นหัวใจสำคัญ เป็นสาเหตุที่ทรู คอร์ปอเรชั่นให้ความสำคัญการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานระดับโลก ครอบคลุมทั้ง 5G และบรอดแบนด์ โดยปัจจุบัน ทรู คอร์ปอเรชั่นมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเติบโตสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเต็มรูปแบบ ทั้ง โมบายล์และบรอดแบรนด์ โดยปัจจุบันโครงข่าย 4G ของทรู-ดีแทค นั้นครอบคลุมประชากร 99% และโครงข่าย 5G ของทรู-ดีแทคนั้นครอบคลุมประชากร 86% และตั้งเป้าขยายให้ถึง 97% ภายในปี 2568

T – Technology (เทคโนโลยี): ทรู คอร์ปอเรชั่นมุ่งเดินหน้าทรานฟอร์มธุรกิจไทยสู่ความเป็นเทคคอมปานี เพื่อขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์ของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มที่ โดยอาศัยพลังของเทคโนโลยีในระบบนิเวศ อาทิ AI, Blockchain, IoT, Robotics และ Quantum Computing พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยและทุกองค์กรพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลให้ 1. รายได้เติบโตเพิ่มขึ้น 2. เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างผลิตภัณฑ์ (Productivity) ที่สูงขึ้น และ 3. การบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งให้ความสำคัญ API Economy ที่จะช่วยเร่งภาคธุรกิจไทยทรานสฟอร์มสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลที่เติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้ล้ำหน้าทัดเทียมนานาชาติ โดยทรู คอร์ปอเรชั่นยังได้ร่วมกับ GSMA พัฒนา Open Gateway API ยกระดับนวัตกรรม มาตรฐานความปลอดภัย และประสบการณ์ของผู้ใช้งานอีกด้วย

P – Platform as a Service (บริการแพลตฟอร์มบนคลาวด์): เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มให้สมบูรณ์แบบเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุด โดยทรู คอร์ปอเรชั่น ให้ความสำคัญ 3 ปัจจัย คือ 1. Digital Media ซึ่งปี 2565 ที่ผ่านมาคนไทยใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 6 หมื่น 8 พันล้านบาท (เติบโต 12% จากปีก่อน) จากคอนเทนต์วิดีโอเกมและ video on demand 2. Digital Home: ในปี 2565 ซึ่งจำนวนบ้านของคนไทยที่มีอุปกรณ์ Smart Home มีจำนวน 2.9 ล้านหลัง เติบโตขึ้นจากปีก่อน 11.9% และ 3. Digital Health ที่มีศักยภาพเป็น the new S-Curve ใหม่ของประเทศไทย ซึ่งทรู คอร์ปอเรชั่นมุ่งมั่นยกระดับมาตรฐาน Telemedicine ให้เทียบเท่าโรงพยาบาลเอกชนผ่านแอปหมอดี พร้อมสร้างโอกาสการเติบโตทวีคูณของ Digital health ผ่านการต่อยอดความร่วมมือกับอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ประกัน ธนาคาร อุตสาหกรรม IoT ธุรกิจขนส่ง ไปจนถึงภาครัฐ เพื่อนำบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้มาสู่คนไทยทุกคน

a-Analytics & Artificial Intelligence (การวิเคราะห์และปัญญาประดิษฐ์): เปิดองค์ความรู้จากดาต้าเพื่อเจาะลึกถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานสู่การสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม พร้อมทั้งสนับสนุนภาครัฐในการนำ Analytics Capabilities มาวิเคราะห์เชิงรุกกำหนดนโยบายสาธารณะ สู่กำหนดโครงสร้าง e-government หรือใช้ insights ที่สามารถออกแบบแผนและแก้ไขปัญหาได้จริง ทั้งหมดนี้ต้องเริ่มด้วย digitization ขององค์กรสู่การเปลี่ยนผ่านใช้ระบบดิจิทัลและ AI แห่งอนาคตได้

P – People (คน): ทรู คอร์ปอเรชั่นชี้ชัดว่า “คน” เป็นปัจจัยชี้วัดสำคัญที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสำเร็จหรือล้มเหลว การเร่งยกระดับทักษะของพนักงานให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงกลายเป็นวาระเร่งด่วน โดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ระบุว่า 44% ของทักษะที่เป็น core skills ที่ใช้ทุกวันนี้จะล้าสมัยในอีก 5 ปีข้างหน้า และจะมีอาชีพใหม่ๆ ในสายงานดิจิทัลเกิดขึ้นอีกมากมาย ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงเดินหน้าอัปสกิลและรีสกิลพนักงานให้มีทักษะตอบโจทย์กับศตวรรษที่ 21 และสามารถทำงานกับ AI อย่างสร้างสรรค์
วิสัยทัศน์ของทรู คอร์ปอเรชั่น จากการรวมจุดแข็งระหว่างทรูและดีแทค  เพิ่มศักยภาพความพร้อมอย่างเต็มที่ในฐานะบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย โดยมุ่งมั่นยกระดับการดำเนินงาน และส่งมอบคุณค่าที่ดียิ่งกว่าสู่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจ การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทย พร้อมสร้างโอกาสใหม่สู่ประเทศไทยให้เติบโตต่อเนื่องในเศรษฐกิจดิจิทัลบนเวทีโลก
____

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย
สนับสนุนโดย
 รายงานข่าว

โพสต์ข่าวแนะนำ

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยชาวเชียงใหม่ ลำปาง และสุโขทัย จัดงบฯ กว่า 1.9 ล้านบาท ลงพื้นที่ฟื้นฟูหลังน้ำลด แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค มอบเงินช่วยเหลือกรณีบ้านพังทั้งหลัง และช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิต

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยชาวเชียงใหม่ ลำปาง และสุโขทัย จัดงบฯ กว่า 1.9 ล้านบาท ลงพื้นที่ฟื้นฟ...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ

ข่าวดังรายสัปดาห์ HOT NEWS