วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล

เปิดรับสมัครอบรมหลักสูตร “นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล” ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๑  ก.ค.๖๗

สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการดำเนินงานกิจการวิทยุกระจายเสียงกองทัพบกที่ 3 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

เปิดการอบรมหลักสูตร “นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล”  ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๑  กรกฎาคม ๒๕๖๗ ( รวม ๓ วัน )  ณ ห้องประชุมปางอุบล โรงแรมวังจันทน์ริเวอร์วิว จังหวัดพิษณุโลก
.
#รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 28 มิถุนายน 2567 (รับเฉพาะนักวิทยุ-โทรทัศน์ / นักประชาสัมพันธ์ / นักสื่อสารออนไลน์ / บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ารับการอบรม อายุ 18 ปีขึ้นไป)
#ช่องทางการสมัคร สมัครผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ https://1th.me/icDwC  ☎️ 092–156–9545 , Line id:  0646862497

เจนกิจ นัดไธสง-รุ่ง รายงาน
สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ชาวเกาะพีพี สุดทน หลังประปาไม่ไหลมา 3 สัปดาห์ ไร้การเหลียวแล

ชาวบ้าน-ผู้ประกอบการขนาดเล็ก กระทบหนัก ลามถึงท่องเที่ยว พบ ยกเลิกห้องพัก เพียบ

นายตรรก ศิริวรรณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีฝนตกที่จังหวัดกระบี่ คลี่คลายสถานการณ์แล้งไปได้ในบางพื้นที่ แต่ที่เกาะพีพียังวิกฤตอยู่ โดยสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการและชาวบ้านในพื้นที่เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ 





เกี่ยวกับความเดือดร้อนจากภัยแล้งทำให้ไม่มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคมาตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน จนถึงขณะนี้เกือบ 3 สัปดาห์แล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข กระทบต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน และผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างมาก เกิดการยกเลิกของห้องพักและโปรแกรมทัวร์ในพื้นที่เกาะพีพีเป็นจำนวนมาก จึงขอเรียกร้องให้อบต.อ่าวนาง จัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้เกาะพีพีเป็นการเร่งด่วน เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นการชั่วคราว

“จากการลงพื้นที่พบว่าชาวบ้านและผู้ประกอบการขนาดเล็กได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่องมาตลอดสามสัปดาห์ที่น้ำไม่ไหล แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าให้การช่วยเหลือ อบต.อ่าวนางซึ่งรับผิดชอบโดยตรง รับทราบปัญหามาโดยตลอด ก็ยังไม่มีแนวทางในการแก้ไขที่ชัดเจน ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อจนกระทบการท่องเที่ยวในพื้นที่ ทั้ง ๆ ที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ก็ทำหนังสือเรียกร้องกระตุ้นเตือนมาตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน แต่กลับไม่มีการตื่นตัวในการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที จนกระทบทั้งภาพลักษณ์การท่องเที่ยวบนเกาะพีพี และเศรษฐกิจของอ่าวนางเองอย่างมาก 


สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์



วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 07.00 น. 
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมตลาด Green Market @ CKP ณ บริเวณด้านหน้าธนาคารกรุงไทย อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี โดยมีร้านค้าจากครอบครัวบุคลากรโรงพยาบาล จิตอาสาชมรมอาสาสมัคร Yellow Birds และเครือข่ายชุมชนรอบโรงพยาบาลร่วมจำหน่ายสินค้า อาทิ ต้นไม้ฟอกอากาศ ต้นไม้ประดับ ผักปลอดสารพิษ ผลไม้หลากหลายชนิด ของคาว และของหวาน  ภายในงานยังมีดนตรีจิตอาสา Yellow Birds ร่วมบรรเลงตลอดงานโดยจะจัดทุกวันศุกร์แรกของเดือน สำหรับร้านค้าที่เข้าร่วมนี้ ทุกร้านช่วยกันลดโลกร้อน โดยใช้วัสดุธรรมชาติ หากใช้พลาสติกต้องเป็นพลาสติกย่อยสลายได้ หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ และผู้ขายสินค้าจะต้องใส่ผ้าไทย ซึ่งกิจกรรมนี้ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมโรงพยาบาลสีเขียว Green Hospital พร้อมเก็บตัวชี้วัดตามการดำเนินงาน Bangkok Green & CLEAN Hospital Plus (BKKGC) 






















สนับสนุนโดย



สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์




รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิดศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี


วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ ชั้น 17 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์  โดยมีดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี รองศาสตราจารย์ พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำริฯ และหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก  นายชูศักดิ์ ศิริเชียงพิณ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง  พญ.คัชรินทร์ เจียมศรีพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ และนพ.พรเทพ แซ่เฮ้ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เข้าร่วมเป็นเกียรติในงาน 

สำหรับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่ป่วยเรื้อรัง รวมถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาล โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อให้มีการพัฒนาการดูแลรักษาเด็กในโรงพยาบาลเป็นแบบองค์รวม เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ที่ต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องในโรงพยาบาล หรือต้องมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกอยู่เป็นระยะ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะพัฒนาการล่าช้า หรือขาดโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 
















สถิติของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ปีพ.ศ. 2563 - 2565 พบว่ามีผู้ป่วยเด็กมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 41,340 ต่อปี และมีผู้ป่วยรับการรักษาในหอผู้ป่วย ได้แก่ หอผู้ป่วยกุมาร จำนวน 3,892 ราย หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย จำนวน 1,949 ราย หอผู้ป่วยหนักกุมาร จำนวน 93 ราย และหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด จำนวน 117 ราย รวมทั้งสิ้นเฉลี่ย 3,800 ต่อปี โดยมีผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ 


สนับสนุนโดย 






วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ผู้ประสบอัคคีภัยบริเวณซอยชุมชนพัฒนาใหม่ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

สำนักงานหนังสือพิมพ์ทันใจนิวส์

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ผู้ประสบอัคคีภัยบริเวณซอยชุมชนพัฒนาใหม่ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
.

ตามที่ได้เกิดอัคคีภัยบ้านเรือนประชาชนบริเวณชุมชนซอยชุมชนพัฒนาใหม่ เขตคลองเตย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567  ที่ผ่านมา ซึ่งเพลิงไหม้ในครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ภายหลังจากเกิดเหตุ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดยแผนกบรรเทาสาธารณภัย ฝ่ายปฏิบัติการ ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือ นำข้าวต้ม พร้อมน้ำดื่มแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบอัคคีภัยเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้น หลังจากนั้น แผนกสาธารณภัย ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ได้จัดทีมลงพื้นที่เพื่อรับลงทะเบียนผู้ประสบภัยต่อเนื่องในทันที
.
วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2567) 








มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการมูลนิธิฯ และนางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นำทีมลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย จำนวน 33  ครอบครัว 80 คน โดยมอบเงินสดคนละ 3,000 บาท พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภครายครอบครัว18 ชุด รายบุคคล 15 ชุด รวมมูลค่าการช่วยเหลือทั้งสิ้น 307,500 บาท (สามแสนเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)  โดยมีนางสาวอรชา มุ้ยเสมา ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคลองเตย พร้อมด้วยมูลนิธิไกรสิทธิการกุศล และมูลนิธิส่งเสริมศีลธรรมสงเคราะห์ ร่วมในพิธี ณ บริเวณซอยชุมชนพัฒนาใหม่ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
 .









ตลอดระยะเวลากว่า 114 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ  ศาสนา  เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลาย ๆ ทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ดังปณิธาน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ต่อไป
.
ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung
.
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
#แอปพลิเคชัน และ #สายด่วนป่อเต็กตึ๊ง1418 
#ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย(สภท.๕๙ปี)
#นสพ.ข่าวเป็นข่าวดอทคอมเอกชัยรายงาน
#ติดต่อโฆษณากดแชร์กดติดตามไอดีLINEeakkachai001
โทร0894981477

โพสต์ข่าวแนะนำ

นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล

เปิดรับสมัครอบรมหลักสูตร “นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล” ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๑  ก.ค.๖๗ สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน...

ข่าวดัง ยอดนิยม คนสนใจ